วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

การพัฒนาทักษะทางการคิด

การพัฒนาทักษะทางการคิด
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ “การคิด” จากต่างประเทศ
มีนักคิด นักจิตวิทยา และนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวนมากที่ได้ศึกษา เกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ ในเรื่องนี้มีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี 2540)
เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
บลูม (Bloom, 1961) ได้จำแนกการรู้ (Cognition) ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ การรู้ขั้นความรู้ การรู้ขั้นเข้าใจ การรู้ขั้นวิเคราะห์ การรู้ขั้นสังเคราะห์ และการรู้ขั้นประเมิน
ทอแรนซ์ (Torrance, 1962) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบไปด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality)
ออซูเบล (Ausubel,1964) ได้อธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ(Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคล
บรูเนอร์ (Bruner, 1965) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจ หรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจึงถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
กาเย่ (Gagne, 1965) ได้อธิบายว่าผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท ได้แก่
1)ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนก
แยกแยะ การสร้างความคิดรวมยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง
2)กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำ
ความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด
3)ภาษา (Verbal Information)
4)ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
5)เจตคติ (Attitude)
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) ได้อธิบายว่าความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วยมิติ 3 มิติ คือ
1)ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึง วัตถุ/ข้อมูลที่ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อาจเป็นภาพ เสียง สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม
2)มิติด้านปฏิบัติการ (Operations) หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่การรับรู้และเข้าใจ (Cognition) การจำ การคิดแบบเอนกนัย การคิดแบบเอกนัย และการประเมินค่า
3)มิติด้านผลผลิต (Products) หมายถึง ผลของการคิด ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นหน่วย (Unit) เป็นกลุ่มหรือพวกของสิ่งต่าง ๆ (Classes)เป็นความสัมพันธ์ (Relation) เป็นระบบ (System) เป็นการแปลงรูป (Transformation) และการประยุกต์ (Implication) ความสามารถทางการคิดของบุคคล เป็นผลจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
ลิปแมน และคณะ (Lipman, 1981) ได้นำเสนอแนวคิดในการสอนคิดผ่านทางการปรัชญา (Teaching Philosophy) โดยมีความเชื่อว่า ความคิดเชิงปรัชญาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากันเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางการคิด ปรัชญาเป็นวิชาที่จะช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนการคิด
คลอสไมเออร์ (Klausmier, 1985) ได้อธิบายกระบวนการคิดโดยใช้ทฤษฎี การประมวลผลข้อมูล (Information Processing) ว่า การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการนำข้อมูลเข้าไป (Input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (Processor) แล้วจึงส่งผลออกมา (Output) กระบวนการคิดของมนุษย์มีการรับข้อมูล มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการเกิดขึ้นในสมองไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถศึกษาได้จากการอ้างอิง หรือการคาดคะเนกระบวนการนั้น
สเติร์นเบอร์ก (Sternberg, 1985) ได้เสนอทฤษฎีสามศร (Triarchich Theory) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 3 ส่วน คือ ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบทางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล และทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อ ความสามารถทางปัญญารวมทั้งทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Subtheory) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดปรัชญาการสร้างความรู้ (Constructivism) อธิบายว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคล บุคลเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure)
การ์ดเนอร์ (Gardner ,1993) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ซึ่งแต่เดิม ทฤษฎีทางสติปัญญามักกล่าวถึงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้าน แต่การ์ดเนอร์เสนอไว้ถึง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านการเข้าใจในธรรมชาติ
แนวทางการพัฒนาการคิด จากต่างประเทศ
ได้มีผู้เสนอแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาการคิดไว้จำนวนไม่น้อย อาทิเช่น
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward De Bono, 1973) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการคิดไว้จำนวนมาก เช่น การพัฒนาการคิดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การใช้เทคนิคหมวก 6 ใบเป็นต้น
ศูนย์พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Center for Critical Thinking, Sonoma State University, 1996)ได้พัฒนาคู่มือการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับ การสอนในโรงเรียนทุกระดับ และยังได้ผลิตสื่อประเภทเทปเสียงการบรรยาย และวีดีทัศน์ ขึ้นเป็นจำนวนมากมีนักศึกษาจำนวนหลายท่าน ได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการการคิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น จอยส์และเวลส์ (Joyce and Weil, 1980) เอนนิส (Ennis)และ วิลเลี่ยม (Williams)เป็นต้น

หลักการ และแนวคิดของไทย
พระธรรมปิฏก (2539) ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาและการสอน ตามหลักพุทธธรรม ซึ่งคลอบคลุมในเรื่องการพัฒนาปัญญา และการคิดไว้จำนวนมาก และได้มี นักการศึกษาไทยนำแนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบ กระบวนการ และเทคนิคใน การสอน ทำให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้นหลักการและแนวคิด ตามพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษาและการสอนในพระธรรมปิฏกได้แผยแพร่ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางการคิดของมนุษย์มีดังนี้ คือ
1)ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2)การรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คือการรู้จักคิดเป็น พูดเป็น และทำเป็น
3)การคิดเป็นหรือการคิดอย่างถูกต้องเป็นศูนย์กลางที่บริหารการดำเนินชีวิต ทั้งหมด ทำหน้าที่ชี้นำและควบคุมการกระทำ การการคิดจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อมนุษย์ได้รับ ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอยู่มาก หากคิดเป็นหรือคิดดีก็จะเกิดการเลือกรับเป็นหรือเลือกรับแต่ สิ่งที่ดีๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะเกิดการคิดตีความเชื่อมโยงและตอบสนองออกมาเป็นการกระทำ ในขั้นตอนนี้มีสิ่งปรุงแต่งความคิดเข้ามา ได้แก่อารมณ์ชอบ ชัง คติ และอคติต่างๆ ซึ่งมีผลต่อ การคิดตีความและการเชื่อมโยงการกระทำ ถ้าคิดเป็นโดยรู้ถึงสิ่งปรุงแต่งต่าง ๆ นั้นก็จะสามารถบริหารการกระทำอย่างเหมาะสมได้
4)กระบวนการคิด เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้โดยกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาหรือ สิกขา การพัฒนานั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ผลที่ได้คือมรรคหรือการกระทำที่ดีงาม
5)แก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาปัญญาของตนเองให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือการมีความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม เกื้อกูลต่อชีวิต และครอบครัว
6)สัมมาทิฐิ ทำให้เกิดการพูด และ การกระทำที่ดีงาม สามารถดับทุกข์ และ แก้ปัญหาได้
7)ปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นสัมมาทิฏฐิ ได้มี 2 ประการ
7.1.ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า ปรโตโฆสะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ครู พ่อแม่ เพื่อน สื่อมวลชน ฯลฯ
7.2.ปัจจัยภายใน หรือเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิดเป็น
8)การศึกษาทั้งหลายที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทำการอย่างเป็นระบบระเบียบ ถือว่เป็นปรโตโฆสะทั้งสิ้น
9)บุคลส่วนใหญ่ในโลกจะสามารถพัฒนาตนเองให้ใช้โยนิโสมนสิการอย่างเดียวไม่ได้จำต้องอาศัยปรโตโฆสะทั้งสิ้น
10)โยนิโสมนสิการเรียกได้ว่าคือการคิดเป็น เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะโดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นต้นเหตุตลอดทางจนถึง ผลสุดท้ายที่เกิดแยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คือความสัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุโดยไม่เอาความรู้สึกอุปทานของตนเข้าไปจับหรือเคลือบคลุมบุคลนั้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการแห่งปัญญา
11)โยนิโสมนสิการเป็น องค์ประกอบภายในมีความเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้ ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดอย่างวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นตอนสำคัญของการสร้างปัญญา ทำให้บริสุทธิ์และเป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตัวเองได้ นำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมด้วยสันติสุขเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา
12)โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญาแต่เป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญญา มีเป้าหมายสูงสุด คือ การดับทุกข์
13)โยนิโสมนสิการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
13.1 อุบายมนสิการ คือ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง
13.2 ปถมนสิกา คือ การคิดอย่างมีลำดับขั้น
13.3 การณมนสิการ คือ การคิดอย่ามีเหตุผล
13.4 อุปปทากมนสิการคือการคิดอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผลไม่ใช่คิดไปเรื่อยเปื่อย
14)ในการดำเนินชีวิต สติเป็นองค์ธรรมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานทุกอย่าง โยนิโสมนสิการเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสติที่ยังไม่เกิดไห้ได้เกิด ช่วยให้สติที่เกิดแล้ว เกิดต่อเนื่องต่อไป
15)กลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการในกระบวนการคิด เมื่อบุคลรับรู้สิ่งใด ความคิดก็จะพุ่งเข้าสู่ความชอบหรือไม่ชอบทันที นั่นคือสิ่งปรุงแต่ง เนื่องจากบุคลมีประสบการณ์มาก่อน เรียกสิ่งปรุงแต่งนั้นว่าอวิชชา ในตอนนี้เองที่โยนิโสมนสิการจเข้าไปสกัดความคิดแล้วเป็นตัวนำเอากระบวนการคิดบริสุทธิ์ที่จะพิจารณาตามสภาวะตามเหตุปัจจัย เป็นลำดับไม่สับสน มีเหตุผลและเกิดผลได้(ตามองค์ประกอบทั้งสี่ข้อในข้อ 13) ทำให้คนเป็นนายไม่ใช่ทาสของความคิด เอาความคิดมาใช้แก้ปัญหาได้
16)คนปกติสามารถใช้โยนิโสมนสิการง่าย ๆ ได้โดยการพยายามควบคุมกระแสความคิดให้
อยู่ในแนวทางที่ดีงานตามทางที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณาเห็นความจริง และรู้ว่าคำแนะนำสั่งสอนนั้นถูกต้องดีงาม มีประโยชน์ ก็ยิ่งมั่นใจและเกิดศรัทธาขึ้นเองเกิดเป็นการประสานกันระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน กลายเป็นความหมายของตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ดังนั้นในการสร้างศรัทธาจะต้องพยายามให้นักเรียนได้รับรู้ผลและเกิดความตระหนักในผลของการกระทำความดี ต้องเร้าให้เกิดการเสริมแรงภายใน
17)กล่าวโดยสรุปกลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการ และความสัมพันธ์ระหว่าง ปรโตโฆ
สะกับโยนิโสมนสิการ มีดังนี้
17.1 โยนิโสมนสิการจะทำงาน 2 ขั้นตอนคือ รับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์จากภายนอกการรับรู้ด้ายโยนิโสมนสิการจะเป็นการรับรู้อย่างถูกต้อง มีการคิดค้นพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาเป็นการพิจารณาข้อมูลด้วยสติซึ่งจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป
17.2 กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) และ โยนิโสมนสิการ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างบุคคลกับโลกหรือสภาพแวดล้อมภายนอก โดยกัลยาณมิตรเชื่อมให้กับบุคคลติดต่อกับโลกทางสังคมอย่างถูกต้องและโยนิโสมนสิการเชื่อมต่อบุคคลกับโลกทางจิตใจของตนเองอย่างถูกต้อง
18)วิธีคิดตามหลักโยนิโสมสิการมี 10 วิธี คือ
18.1 วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้สภาวะที่เป็นจริง
18.2 วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เป็นวิธีคิดเพื่อกำหนดแยกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและสิ่งที่เป็นนามธรรม
18.3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้เท่าทัน คือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเองและจะดับไปเอง เรียกว่า รู้อนิจจัง และรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเองไม่มีใครบังคับหรือกำหนดขึ้น เรียกว่า รู้อนัตตา
18.4 วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ เป็นวิธีคิดแบบแก้ปัญหา โดยเริ่มจากตัวปัญหา หรือ ทุกข์ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน สืบค้นสาเหตุ เตรียมแก้ไข วางแผนกำจัดสาเหตุของปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ
18.4.1 ทุกข์ - การกำหนดให้รู้สภาพปัญหา
18.4.2 สมุทัย- การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัด
18.4.3 นิโรธ - การดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร
18.4.4 มรรค - การกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา
18.5 วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นวิธีคิดให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย สามารถตอบคำถามได้ว่าที่ทำหรือจะทำอย่างนั้น อย่างนี้เพื่ออะไร ทำให้การกระทำมีขอบเขต ไม่เลยเถิด
18.6 วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดบนพื้นฐานความตระหนักที่ว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนด้อย ดังนั้นเมื่อต้องคิดตัดสินใจเลือกเอาของสิ่งในเพียงอย่างเดียวจะต้องยอมรับส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกไว้ และ ไม่มองข้ามโทษหรือข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดเสียของสิ่งที่เลือกไว้ การคิดและมองตามความจริงนี้ ทำให้ไม่ประมาท อาจนำเอา ส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกนั้นมาใช้ประโยชน์ได้และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย บกพร่องที่ติดมากับสิ่งที่เลือกไว้
18.7 วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดที่สามารถแยกแยะได้ว่าคุณค่าแท้คืออะไร คุณค่าเทียมคืออะไรคือคุณค่าแท้ คือ คุณค่าของสิ่งมีประโยชน์แก่ร่างกายโดยตรง อาศัยปัญญาตีราคา เป็นคุณค่าสนองปัญญาคุณค่าเทียม คือ คุณค่าพอกเสริมสิ่งจำเป็นโดยตรง อาศัยตัณหาตีราคา เป็นคุณค่าสนองตัณหาวิธีคิดนี้ใช้เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต เพื่อพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ เป็นการเกี่ยวข้องด้วยปัญญา มีขอบเขต เหมาะสม
18.8 วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม เป็นการคิดถึงแต่สิ่งที่ดีมีกุศล เมื่อได้รับประสบการณ์แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีงาม เป็นวิธีคิดที่สกัดกั้น ขัดเกลาตัณหา
18.9 วิธีคิดแบบเป็นอยู่กับปัจจุบัน เป็นวิธีคิดให้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ประจำวันเชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กิจการตามหน้าที่หรือการปฏิบัติ โดยมีจุดหมายไม่เพ้อฝันกับอารมณ์ชอบหรือชัง
18.10วิธีคิดแบบวิภัชวาท เป็นการคิดแบบให้เห็นความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้าน ไม่พิจารณาสิ่งใด ๆ เพียงด้านหรือแง่มุมเดียว

แนวทาง รูปแบบ กระบวนการ วิธีการ เทคนิคการสอนและการพัฒนากระบวน การคิดของไทย

ในระยะประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ได้มีนักคิดและนักการศึกษาที่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาการคิดตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลัง ๆ ได้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสอน และศึกษาวิจัยกันมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ จึงทำให้ประเทศไทยได้รูปแบบการสอน กระบวนการสอบและเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาก อาทิเช่น การสอนให้ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ” โดย สุมน อมรวิวัฒน์ “การสอนความคิด” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนทักษะกระบวนการ” โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และ “กระบวนการคิดเป็นเพื่อการคำรงชีวิตในสังคมไทย” โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
กรอบความคิดของ “การคิด”
จากการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการคิด พบว่า มีคำที่แสดงถึงลักษณะของการคิดและคำที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น

การสังเกต คิดผิด-คิดถูก กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การเปรียบเทียบ คิดสั้น-คิดยาว/คิดไกล กระบวนการคิดแก้ปัญหา
การตั้งคำถาม คิดแคบ-คิดกว้าง กระบวนการคิดริเริ่มส