วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจต์
ในการศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรม พีอาเจต์ได้ใช้วิธีเกตเด็กวัยต่างๆ เล่นเกมส์ และการใช้คำถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูล พีอาเจต์มีวัตถุประสงค์สองอย่างคือ
(1) เพื่อจะดูว่าเวลาเด็กเกมส์ เด็กปฎิบัติตามกฏเกณฑ์ในการเล่นอย่างไร
(2) เพื่อจะศึกษาว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเล่นอย่างไร พีอาเจต์ได้สรุป
ผลของการวิจัยนี้ไว้ในหนังสือชื่อว่า “The Moral Judgement of the Child”
เพื่อประกอบการอธิบาย จะขอยกตัวอย่าง “เกมส์ลูกหิน” ที่พีอาเจต์ใช้ในทดลอง เกณฑ์
ลูกหินมีชื่อว่า “สี่เหลี่ยมจัตุรัส (Squares)” เริ่มด้วยการเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนพื้น และวางลูหินหลายลูกในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้ผู้เล่นโยนลูกหินกระแทกลูกหินในสี่เหลี่ยมออกไป กฎเกณฑ์ในการเล่นมีหลายอย่างเป็นต้นว่า กฎเฏณฑ์เกี่ยวกับใครจะเป็นผู้มีสิทธิ์โยนลูกหินเป็นคนแรก ผู้ที่จะมีสิทธิ์โยนเป็นคนแรกจะต้องเป็นคนร้องคำว่า “ที่หนึ่ง” ก่อนคนอื่น ถ้าผู้เล่นอื่นไม่ต้องการให้มีคนใดคนหนึ่งโยนลูกหินเป็นคนแรก ก็มีกฎเกณฑ์ป้องกันได้คือ จะต้องมีผู้ร้องคำว่า “ไม่มีที่หนึ่ง” ก่อนคนที่จะร้องว่า “ที่หนึ่ง” พีอาเจต์สังเกตว่าเด็กเล็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะถือกฎเกณฑ์ในการเล่นอย่างเคร่งครัด และจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์โดยไม่มีคำถามใดๆ เมื่อเด็กโตขึ้นจะพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในการเล่นโดยตกลงซึ่งกันและกัน
นอกจากการสังเกตเล่นเกมส์ต่างๆ ของเด็ก พีอาเจต์ได้สร้างเรื่องสถานการณ์คู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้กระทำ มีความตั้งใจดี แต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดผลเสียหายมาก อีกเรื่องหนึ่งผู้กระทำหรือผู้แสดงพฤติกรรม มีความตั้งใจไม่ดี แต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดผลเสียหายน้อยกว่า
เรื่องแรก เด็กชายจอห์น ได้ยินแม่เรียกมากินข้าว ก็รีบไปในห้องกินข้าว แต่เมื่อผลักประตูห้องกินข้าวเข้าไปปรากฎว่าจอห์นทำถาดซึ่งวางอยู่บนเก้าอี้หลังประตูตก ทำให้แก้ว 15 ใบ ซึ่งอยู่บนถาดแตกหมดโดยที่จอห์นไม่มีทางทราบเลยว่าจะมีคนเอาถาดถ้วยแก้วมาวางบนเก้าอี้หลังประตู
เรื่องที่ 2 เด็กชายเฮนรี่ อยู่บ้านคนเดียวเพราะแม่ออกไปทำธุระนอกบ้าน เฮนรี่ปีนขึ้นไปเอาแยมซึ่งอยู่ในตู้แต่ในขณะที่ยื่นมือไปหยิบขวดแยม มือไปถูกแก้วใบหนึ่งตกลงและในที่สุด ด.ช.เฮนรี่ก็ไม่ได้แยมด้วย เพราะอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง
หลังจากเล่าเรื่อง 2 สถานการณ์ให้เด็กฟังแล้ว พีอาเจต์ถามเด็กว่า “ใครเป็นคนทำผิดสมควรได้รับโทษมากกว่ากัน” เด็กเล็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะตอบว่า จอห์นควรจะได้รับโทษมากกว่าเพราะทำถ้วยแตกมากกว่าคือ 15 ใบ ส่วนเฮนรี่ผิดน้อยกว่าเพราะทำถ้วยแตกเพียงใบเดียว แสดงว่าเด็กเล็กมักจะไม่คิดถึงความต้องการ แรงจูงใจหรือเจตนาของผุ้กระทำ จะตัดสินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่ตนเห็นถ้ามีความเสียหายมากก็ควรจะได้รับโทษมากกว่า


ขั้นของพัฒนาการทางจริยธรรม
พีอาเจต์ ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 2 ขั้น คือ
1. เฮทเทรอนโนมัส (Heteronomous) เป็นขั้นที่ผู้กระทำรับกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานทางจริยธรรมมาจากผู้มีอำนาจเหนือตนและถือว่ากฎเกณฑ์เป็นสิ่งที่จะต้องปฎิบัติตาม เปลี่ยนแปลงไม่ได้
2. ออโทนมัส (Autonomous) เป็นขั้นที่ผู้กระทำเชื่อว่ากฎเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลกฎเกณฑ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ คือ ความร่วมมือและการนับถือซึ่งกันและกันเป็นเรื่องสำคัญ
ลักษณะของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นเฮทเทรอนโนมัส
เด็กที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 5-8 ขวบ รับกฎเกณฑ์และมาตรฐานทางจริยธรรมมาจากบิดามารดา ครูและเด็กโต เด็กวัยนี้จะมีความเชื่อถือดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมใดจะถูกต้องหรือ “ดี” ก็ต่อเมื่อผู้แสดงพฤติกรรมได้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์
2. กฎเกณฑ์มีไว้สำหรับปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและแก้ไขไม่ได้
3. ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์โดยเด็กขาด ถ้าใครทำตามกฏเกณฑ์เป็น
“คนดี” และคนที่ไม่ทำตามกฎ เป็น “คนไม่ดี”
4. การใช้จรรยาวิพากษ์หรือการประเมินตัดสินว่าใคร “ผิด” “ถูก” ไม่คำนึงถึงความต้องการแรงจุงใจหรือเจตนาของผู้กระทำ
ลักษณะของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นออโทนอมัส
เด็กที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้จะเป็นเด็กที่มีอายุ 9 ขวบขึ้นไป เด็กวัยนี้จะมีความเชื่อดังต่อไปนี้
1. กฎเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลและกฏเกณฑ์อาจจะเปลี่ยแปลงได้ ถ้าหากบุคคลที่ใช้กฎเกณฑ์นั้นตกลงกันว่าจะเปลี่ยน
2. กฎเกณฑ์จะมีความหมายหรือมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อบุคคลที่จะต้องปฏิบัติยอมรับกฎเกณฑ์นั้น
3. การร่วมมือการนับถือซึ่งกันและกัน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพัฒนาการทางจริยธรรม
4. การใช้จรรยาวิพากษ์หรือประเมินตัดสินว่า ใคร “ผิด” “ถูก” คำนึงถึงความต้องการ แรงจูงใจหรือเจตนาของผู้กระทำ
ข้อสรุปที่สำคัญที่เพอาเจต์ได้จาการวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางจริยธรรมก็คือ พัมนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นกับวัย คล้ายคลึงกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะยอมรับมาตรฐานทางจริยธรรมหรือกฏเกณฑ์จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครู และเด็กที่
โตกว่า เด็กจะปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดและเชื่อว่ากฏเกณฑ์เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อเด็กอายุมากขึ้นคือตั้งแต่ 9 ขวบ ขึ้นไป จะมีความคิดว่ากฏเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลและผู้ใช้กฏเกณฑ์จะต้องมีความร่วมมือและนับถือซึ่งกันและกัน และกฏเกณฑ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้