วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

Backward Design

Backward Design

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและ การพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพ การเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านนั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เผยแพร่ต่อผู้อื่น

การนำแนวทางการพัฒนาของครูจะช่วยให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน เกิดผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียน ให้มีคุณลักษณะ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร


ที่มาของ Backward Design

ปัญหาจากการสอบแบบ multiple Choices : teach test and hope for the best! สอนเพื่อให้ผู้เรียนจำ ไม่ใช้เข้าใจ l การวัดประเมินผล มุ่งวัดประเมินว่า ผู้เรียนจำอะไรได้บ้างจากสิ่งที่ครูบอก เล่า ให้ฟัง หรือ อ่านมา ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง การสอนของครูสอนแบบอ้างถึงความรู้ teaching by mention ผู้เรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติ

หลักการของ Backward Design

กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighe เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ ( Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน ในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้

ขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ backward design
1 กำหนดหน่วยเรียนรู้ที่ต้องการ Identify desired result
2 กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ Determine acceptable evidence
3 ออกแบบการเรียนรู้ Plan learning experiences and instruction

บทสรุปของ Backward Design

ข้อค้นพบประการสำคัญของ Backward Design ก็คือ
* เป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง

มีคำกล่าวถึง เรื่อง Backward Design ไว้น่าสนใจ ดังนี้

“ การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย Backward Design มิใช่ความมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ที่สะดวกสบายหรือ เป็นกระบวนการง่ายๆ หากแต่มันคือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ ที่ทุกคนจะต้องกลับไปผ่าให้ทะลุเข้าไปในแผนผังหลักสูตรแล้วทำการปรับปรุง กระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลาเมื่อท่านผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปใน ส่วนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ของคุณ ”

เป็นบทสรุปที่ชัดเจนและเห็นความสำคัญ ของ Backward Design ได้อย่างแจ่มแจ้งที่เดียว

แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ Backward Design ที่รวบรวมจากสื่อต่างๆ ในการอบรมหลักสูตร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ

*การออกแบบเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ (ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา )
*เข้มแข็งออกแบบการเรียนรู้
*การตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน
*ศึกษาธิการสัญจร : ก้าวที่สำคัญบนเส้นทางปฏิรูปการศึกษา
*แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้
*การสอนทักษะการคิด
*การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Backward Design
*Backward Unit Design (PowerPoint)
*Model การประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ด้วย Backward Design
*Principles of Backward Design
*การออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิด Backward Design ของครูกษิดิ์เดช

รูปแบบการสอนสอนของนักการศึกษา

การสอนตามรูปแบบCIPPA

C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model

๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการ คิด ในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป

*************************************************************************************
ระบบการเรียนการสอนของ กาเย่(Gagne’ Design Model)

กาเย่ (Gagne') ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน ที่จะสร้างความตั้งใจและความสนใจ เป็นลำดับขั้นดังนี้
1.ขั้นการสร้างความตั้งใจ (Gaining Attention)
2.ขั้นการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ (Informing Learners of the Objective)
3.ขั้นส่งเสริมให้ระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนมา (Stimulating Recall of Prerequisite Learning )
4.ขั้นการเสนอสิ่งเร้าเพื่อการเรียนใหม่ (Presenting the Stimulus Materials)
5.ขั้นการให้คำแนะนำช่วยเหลือในการเรียน (Providing Learning Guidance)
6.ขั้นให้นักเรียนได้มีการแสดงออก (Eliciting the Performance)
7.ขั้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback)
8.ขั้นการประเมินผล (Assessing Performance)
9.ขั้นระดับความคงทนในเรื่องที่จะเรียน และการถ่ายโยง (Enhancing Retention and Transfer)

ความเหมาะสมของระบบการเรียนการสอนในการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษาระบบการเรียนการสอน ของกาเย่สามารถนำไปใช้ในระบบการเรียนการสอนได้โดยตรงโดยการสร้างสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียนเมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้วผู้สอนก็จะแจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียนโดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้ จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่ มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้เขาทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติ และมีการสรุปเสริมบทเรียนเพื่อสร้างความแม่นยำและการถ่ายโยงความรู้ไปใช้กับสิ่งอื่นๆ ในโอกาสต่อไป

*************************************************************************************

การนำ Backward Design มาใช้ในการประเมินผลการเรียน

การนำ Backward Design มาใช้ในการประเมินผลการเรียน
.................................................................................

หลักการของ Backward Design

กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า

ขั้นตอน 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
ขั้นตอน 2 : อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
ขั้นตอน 3 : ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจและความยอดเยี่ยม
ในหลักฐานนั้นๆ …


ขั้นตอนที่ 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า

การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals)หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ, ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ หลักการต่าง ๆ หรือกระบวนการต่างๆ

ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม ประกอบด้วย

 เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
 มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
 มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?
 จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

Wiggins and McTighe เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters” เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
 เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
 เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ “การลงมือทำ” ในเนื้อหาวิชา)
 ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
 สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน

ความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ(สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น


ขั้นตอนที่ 2 : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ

ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ
 อธิบายชี้แจงเหตุผล (can explain)
 แปลความตีความ (can interpret)
 ประยุกต์ (can apply)
 มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have perspective)
 สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
 มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)

ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning styles) นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้านให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งหกด้าน (six facets) ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการออกแบบการประเมินผลและการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2 – คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่ต้องการในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design” แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ คณะครูผู้สอน มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ (Performance tasks) ด้วย Wiggins and Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วย การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ และการแสดงความสามารถต่าง ๆ ต้อง :
 สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing understand)
 ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ
ผลงาน / ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอเน้นถึงความสำคัญ การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3:อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร

ในขั้นตอนที่ 3 – ของกระบวนการ backward design ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop understanding)
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขาที่สืบค้น (inquiries) ประสบการณ์โดยตรง กระบวนการให้เหตุผล (arguments) การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้ ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :
-สร้างทฤษฎี อธิบายชี้แจง แปลความ ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ กัน หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ
ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth)วิเคราะห์แยกแยะ ตั้งคำถาม พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง มองเห็นภาพ(ตัวแทนหรือรูปจำลอง) และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based approach) ที่ต้องการ “ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)” ในการเลือกเนื้อหา

การทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine)

ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward design” ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้วในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
“การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย
backward design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ มัน
คือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ”

Backward design และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ กรอบแนวความคิดนี้มีประโยชน์ต่อการใช้สอย เมื่อแบบจำลอง backward design ถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์
-------------------------

การสอนแบบ Backward Design

การสอนแบบ Backward Design


เป็นการจัดการเรียนการสอนที่วางแผนการคิดย้อนทางต้องกำหนดเป้าหมายหลักให้ชัดเจน ออกแบบกิจกรรมที่นำไปสู่ผลได้จริง และนักเรียนต้องได้รับความรู้ฝังแน่น ดำเนินการถอยหลังไปทีละ Step ตามลำดับบันไดสร้างความรู้(Learning Hirachy)

ความรู้แบบฝังแน่น คืออะไร
ความรู้แบบฝังแน่น คือ ความรู้ที่นำไปใช้ได้ ได้แก่
1. ความคิดรวบยอด ( Definition )
2. ความสัมพันธ์ (ความเชื่อมโยงของความคิดรวบยอด 2 อย่างขึ้นไป
3. กฎ หลักการ
4. กระบวนการ
ทำไมต้องทำ Backward Design

* ในประเทศไทย ทุกวันนี้ครูผู้สอนยังสอนแบบท่องจำ ให้ความรู้แบบฉาบฉวย ทำให้นักเรียนไม่มีความรู้จริง ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้
* U.S.A. ได้เปรียบเทียบผลการสอบระดับชาติกับนักเรียนนานาชาติ ปรากฎว่า U.S.A. ไม่ติด 1 ใน 3 เลย จึงเริ่มทำวิจัย โดยสำรวจห้องเรียน 2,300 ห้องเรียน พบว่า

ตัวชี้คุณภาพเชิงบวก
* ในการเรียนการสอนมีการตั้งเป้าหมายความคิดระดับสูง 3 %
* ในการเรียนการสอนมีการตั้งจุดมุ่งหมายชัดเจน 4 %
* เขียนหรือใช้ Rubrics ในการประเมิน 0 %
ตัวชี้คุณภาพเชิงลบ
* ขณะสอนมีกิจกรรมอื่นแทรก(ไม่ค่อยสอน/เรียน ) 35 %
* นั่งทำใบงาน 52 %
* นักเรียนน้อยกว่าครึ่งสนใจเรียน 85 %
จากนั้นก็ไปดู Portfolio นักเรียน พบว่าผลงานนักเรียน เป็นผลงานที่แสดงออกแบบพื้นๆมาก ไม่มีความคิดลึกซึ้ง

การทำแผนแบบ Backward Design
เริ่มต้นจาก
1. ครูกำหนดผลการเรียนรู้แบบลึกซึ้ง ฝังแน่น
2. จัดบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียน
3. ใช้คำถาม ยั่วยุ ท้าทายให้สมองทำงาน
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ต้องมีการประเมินผลหลังการสอนและมีการพัฒนานักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ
5. ครูนำเสนอตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียนตามแผนที่ครูสอน (ชิ้นงานต้องมี 3 Level คือ ชิ้นงานของนักเรียนที่มีผลการเรียนสูง กลาง ต่ำ )

เจตนาของ Backward Design
1. ต้องการทำให้แผนการสอนเป็นเหตุเป็นผล
2. นักเรียนมีความรู้แบบฝังแน่น

เมื่อเราจะพยายามเปลี่ยนแปลงครู ก็จะมี แรงต้าน***การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายต้องเริ่มที่ Moral Pur

Moral Purpose ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม

1. ครูต้องเพิ่มคุณภาพผลการเรียน
2. ลดช่องว่างเด็กเก่ง เด็กอ่อน
3. นักเรียนทุกคนต้องได้รับการเรียนที่ดีที่สุด

ข้อเสนอแนะ /แนวทางในการปฏิบัติ
แนวคิดแบบ Backward Design มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน แต่ครูต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง อาจไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบนี้ แต่ทำแบบเดิมที่มีอยู่ให้เข้มข้น ฝังแน่นขึ้นก็น่าจะถึงจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ คือส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำความรู้ไปใช้ได้ ***

where there is an OPEN MIND,

There will always be a new frontier.