วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

การสอนแบบ Backward Design

การสอนแบบ Backward Design


เป็นการจัดการเรียนการสอนที่วางแผนการคิดย้อนทางต้องกำหนดเป้าหมายหลักให้ชัดเจน ออกแบบกิจกรรมที่นำไปสู่ผลได้จริง และนักเรียนต้องได้รับความรู้ฝังแน่น ดำเนินการถอยหลังไปทีละ Step ตามลำดับบันไดสร้างความรู้(Learning Hirachy)

ความรู้แบบฝังแน่น คืออะไร
ความรู้แบบฝังแน่น คือ ความรู้ที่นำไปใช้ได้ ได้แก่
1. ความคิดรวบยอด ( Definition )
2. ความสัมพันธ์ (ความเชื่อมโยงของความคิดรวบยอด 2 อย่างขึ้นไป
3. กฎ หลักการ
4. กระบวนการ
ทำไมต้องทำ Backward Design

* ในประเทศไทย ทุกวันนี้ครูผู้สอนยังสอนแบบท่องจำ ให้ความรู้แบบฉาบฉวย ทำให้นักเรียนไม่มีความรู้จริง ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้
* U.S.A. ได้เปรียบเทียบผลการสอบระดับชาติกับนักเรียนนานาชาติ ปรากฎว่า U.S.A. ไม่ติด 1 ใน 3 เลย จึงเริ่มทำวิจัย โดยสำรวจห้องเรียน 2,300 ห้องเรียน พบว่า

ตัวชี้คุณภาพเชิงบวก
* ในการเรียนการสอนมีการตั้งเป้าหมายความคิดระดับสูง 3 %
* ในการเรียนการสอนมีการตั้งจุดมุ่งหมายชัดเจน 4 %
* เขียนหรือใช้ Rubrics ในการประเมิน 0 %
ตัวชี้คุณภาพเชิงลบ
* ขณะสอนมีกิจกรรมอื่นแทรก(ไม่ค่อยสอน/เรียน ) 35 %
* นั่งทำใบงาน 52 %
* นักเรียนน้อยกว่าครึ่งสนใจเรียน 85 %
จากนั้นก็ไปดู Portfolio นักเรียน พบว่าผลงานนักเรียน เป็นผลงานที่แสดงออกแบบพื้นๆมาก ไม่มีความคิดลึกซึ้ง

การทำแผนแบบ Backward Design
เริ่มต้นจาก
1. ครูกำหนดผลการเรียนรู้แบบลึกซึ้ง ฝังแน่น
2. จัดบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียน
3. ใช้คำถาม ยั่วยุ ท้าทายให้สมองทำงาน
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ต้องมีการประเมินผลหลังการสอนและมีการพัฒนานักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ
5. ครูนำเสนอตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียนตามแผนที่ครูสอน (ชิ้นงานต้องมี 3 Level คือ ชิ้นงานของนักเรียนที่มีผลการเรียนสูง กลาง ต่ำ )

เจตนาของ Backward Design
1. ต้องการทำให้แผนการสอนเป็นเหตุเป็นผล
2. นักเรียนมีความรู้แบบฝังแน่น

เมื่อเราจะพยายามเปลี่ยนแปลงครู ก็จะมี แรงต้าน***การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายต้องเริ่มที่ Moral Pur

Moral Purpose ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม

1. ครูต้องเพิ่มคุณภาพผลการเรียน
2. ลดช่องว่างเด็กเก่ง เด็กอ่อน
3. นักเรียนทุกคนต้องได้รับการเรียนที่ดีที่สุด

ข้อเสนอแนะ /แนวทางในการปฏิบัติ
แนวคิดแบบ Backward Design มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน แต่ครูต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง อาจไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบนี้ แต่ทำแบบเดิมที่มีอยู่ให้เข้มข้น ฝังแน่นขึ้นก็น่าจะถึงจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ คือส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำความรู้ไปใช้ได้ ***

where there is an OPEN MIND,

There will always be a new frontier.

ไม่มีความคิดเห็น: