วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจต์
ในการศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรม พีอาเจต์ได้ใช้วิธีเกตเด็กวัยต่างๆ เล่นเกมส์ และการใช้คำถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูล พีอาเจต์มีวัตถุประสงค์สองอย่างคือ
(1) เพื่อจะดูว่าเวลาเด็กเกมส์ เด็กปฎิบัติตามกฏเกณฑ์ในการเล่นอย่างไร
(2) เพื่อจะศึกษาว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเล่นอย่างไร พีอาเจต์ได้สรุป
ผลของการวิจัยนี้ไว้ในหนังสือชื่อว่า “The Moral Judgement of the Child”
เพื่อประกอบการอธิบาย จะขอยกตัวอย่าง “เกมส์ลูกหิน” ที่พีอาเจต์ใช้ในทดลอง เกณฑ์
ลูกหินมีชื่อว่า “สี่เหลี่ยมจัตุรัส (Squares)” เริ่มด้วยการเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนพื้น และวางลูหินหลายลูกในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้ผู้เล่นโยนลูกหินกระแทกลูกหินในสี่เหลี่ยมออกไป กฎเกณฑ์ในการเล่นมีหลายอย่างเป็นต้นว่า กฎเฏณฑ์เกี่ยวกับใครจะเป็นผู้มีสิทธิ์โยนลูกหินเป็นคนแรก ผู้ที่จะมีสิทธิ์โยนเป็นคนแรกจะต้องเป็นคนร้องคำว่า “ที่หนึ่ง” ก่อนคนอื่น ถ้าผู้เล่นอื่นไม่ต้องการให้มีคนใดคนหนึ่งโยนลูกหินเป็นคนแรก ก็มีกฎเกณฑ์ป้องกันได้คือ จะต้องมีผู้ร้องคำว่า “ไม่มีที่หนึ่ง” ก่อนคนที่จะร้องว่า “ที่หนึ่ง” พีอาเจต์สังเกตว่าเด็กเล็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะถือกฎเกณฑ์ในการเล่นอย่างเคร่งครัด และจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์โดยไม่มีคำถามใดๆ เมื่อเด็กโตขึ้นจะพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในการเล่นโดยตกลงซึ่งกันและกัน
นอกจากการสังเกตเล่นเกมส์ต่างๆ ของเด็ก พีอาเจต์ได้สร้างเรื่องสถานการณ์คู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้กระทำ มีความตั้งใจดี แต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดผลเสียหายมาก อีกเรื่องหนึ่งผู้กระทำหรือผู้แสดงพฤติกรรม มีความตั้งใจไม่ดี แต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดผลเสียหายน้อยกว่า
เรื่องแรก เด็กชายจอห์น ได้ยินแม่เรียกมากินข้าว ก็รีบไปในห้องกินข้าว แต่เมื่อผลักประตูห้องกินข้าวเข้าไปปรากฎว่าจอห์นทำถาดซึ่งวางอยู่บนเก้าอี้หลังประตูตก ทำให้แก้ว 15 ใบ ซึ่งอยู่บนถาดแตกหมดโดยที่จอห์นไม่มีทางทราบเลยว่าจะมีคนเอาถาดถ้วยแก้วมาวางบนเก้าอี้หลังประตู
เรื่องที่ 2 เด็กชายเฮนรี่ อยู่บ้านคนเดียวเพราะแม่ออกไปทำธุระนอกบ้าน เฮนรี่ปีนขึ้นไปเอาแยมซึ่งอยู่ในตู้แต่ในขณะที่ยื่นมือไปหยิบขวดแยม มือไปถูกแก้วใบหนึ่งตกลงและในที่สุด ด.ช.เฮนรี่ก็ไม่ได้แยมด้วย เพราะอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง
หลังจากเล่าเรื่อง 2 สถานการณ์ให้เด็กฟังแล้ว พีอาเจต์ถามเด็กว่า “ใครเป็นคนทำผิดสมควรได้รับโทษมากกว่ากัน” เด็กเล็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะตอบว่า จอห์นควรจะได้รับโทษมากกว่าเพราะทำถ้วยแตกมากกว่าคือ 15 ใบ ส่วนเฮนรี่ผิดน้อยกว่าเพราะทำถ้วยแตกเพียงใบเดียว แสดงว่าเด็กเล็กมักจะไม่คิดถึงความต้องการ แรงจูงใจหรือเจตนาของผุ้กระทำ จะตัดสินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่ตนเห็นถ้ามีความเสียหายมากก็ควรจะได้รับโทษมากกว่า


ขั้นของพัฒนาการทางจริยธรรม
พีอาเจต์ ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 2 ขั้น คือ
1. เฮทเทรอนโนมัส (Heteronomous) เป็นขั้นที่ผู้กระทำรับกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานทางจริยธรรมมาจากผู้มีอำนาจเหนือตนและถือว่ากฎเกณฑ์เป็นสิ่งที่จะต้องปฎิบัติตาม เปลี่ยนแปลงไม่ได้
2. ออโทนมัส (Autonomous) เป็นขั้นที่ผู้กระทำเชื่อว่ากฎเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลกฎเกณฑ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ คือ ความร่วมมือและการนับถือซึ่งกันและกันเป็นเรื่องสำคัญ
ลักษณะของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นเฮทเทรอนโนมัส
เด็กที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 5-8 ขวบ รับกฎเกณฑ์และมาตรฐานทางจริยธรรมมาจากบิดามารดา ครูและเด็กโต เด็กวัยนี้จะมีความเชื่อถือดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมใดจะถูกต้องหรือ “ดี” ก็ต่อเมื่อผู้แสดงพฤติกรรมได้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์
2. กฎเกณฑ์มีไว้สำหรับปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและแก้ไขไม่ได้
3. ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์โดยเด็กขาด ถ้าใครทำตามกฏเกณฑ์เป็น
“คนดี” และคนที่ไม่ทำตามกฎ เป็น “คนไม่ดี”
4. การใช้จรรยาวิพากษ์หรือการประเมินตัดสินว่าใคร “ผิด” “ถูก” ไม่คำนึงถึงความต้องการแรงจุงใจหรือเจตนาของผู้กระทำ
ลักษณะของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นออโทนอมัส
เด็กที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้จะเป็นเด็กที่มีอายุ 9 ขวบขึ้นไป เด็กวัยนี้จะมีความเชื่อดังต่อไปนี้
1. กฎเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลและกฏเกณฑ์อาจจะเปลี่ยแปลงได้ ถ้าหากบุคคลที่ใช้กฎเกณฑ์นั้นตกลงกันว่าจะเปลี่ยน
2. กฎเกณฑ์จะมีความหมายหรือมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อบุคคลที่จะต้องปฏิบัติยอมรับกฎเกณฑ์นั้น
3. การร่วมมือการนับถือซึ่งกันและกัน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพัฒนาการทางจริยธรรม
4. การใช้จรรยาวิพากษ์หรือประเมินตัดสินว่า ใคร “ผิด” “ถูก” คำนึงถึงความต้องการ แรงจูงใจหรือเจตนาของผู้กระทำ
ข้อสรุปที่สำคัญที่เพอาเจต์ได้จาการวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางจริยธรรมก็คือ พัมนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นกับวัย คล้ายคลึงกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 5-8 ขวบ จะยอมรับมาตรฐานทางจริยธรรมหรือกฏเกณฑ์จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครู และเด็กที่
โตกว่า เด็กจะปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดและเชื่อว่ากฏเกณฑ์เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อเด็กอายุมากขึ้นคือตั้งแต่ 9 ขวบ ขึ้นไป จะมีความคิดว่ากฏเกณฑ์คือข้อตกลงระหว่างบุคคลและผู้ใช้กฏเกณฑ์จะต้องมีความร่วมมือและนับถือซึ่งกันและกัน และกฏเกณฑ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของบุคลากรหลาย ๆ ฝ่ายในโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร ครูและนักเรียนรวมถึงชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ดังนี้
1.ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ
สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหา จุดเด่น จุดด้อยและความต้องการในการพัฒนาการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนและคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
2.ออกแบบนวัตกรรม
2.1 คิดจินตนาการ สร้างฝันในสิ่งที่คาดหวังที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงตามสภาพปัญหาและความต้องการ
2.2 จัดลำดับความคิดสรุปว่าจะทำอะไรทำ อย่างไร ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไข ปรับปรุงได้ตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการ
2.3 แสวงหา และรวบรวมความรู้ เพื่อสนับสนุนในสิ่งที่คิด และกำหนดขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
3.สร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
3.1 จัดเตรียมทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น และจัดหางบประมาณ
ในการพัฒนานวัตกรรม
3.2 ดำเนินการสร้าง / พัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอนที่กำหนด
3.3 ตรวจสอบนวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาในแต่ละขั้นตอน
3.4 สังเคราะห์ผลการตรวจสอบและปรับปรุงนวัตกรรมที่สร้าง / พัฒนา
3.5 กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณค่าความเป็นนวัตกรรม
4.ทดลองใช้
4.1 สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลผลการทดลองใช้
4.2 นำนวัตกรรมไปทดลองใช้ (Try Out)
4.3 ประเมินผลการทดลองใช้และปรับปรุงนวัตกรรม
5.สรุป รายงาน และเผยแพร่
5.1 สรุป รายงานผลการสร้าง / พัฒนานวัตกรรม
5.2 เผยแพร่นวัตกรรม

การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของ“นวัตกรรม” ไว้ต่าง ๆ กัน เช่น
Thomas Hughes ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention)การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
Morton,J.A. ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ใน
ภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายาม ใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการ ที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำ ความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนอยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน ได้แก่
e-learning
e-learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ เช่น ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม e-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอ เนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ ธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความหมายของ e-learning หมายถึง การศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ เว็บไซด์ หรือWorld Wide Web โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกันจะที่มี การ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือ ผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะ ของเสียง จากบริการของ Chat room และแบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการอิเลคทรอนิคส์เมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ห้องเรียนเสมือนจริง
การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้ หรือระยะไกล ผ่านทางระบบ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบ การเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543 : 195) ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงานโดยไม่ต้องไป นั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการจัด การเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วม กิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลัก สูตรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
เราจึงกล่าวได้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกันมีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและ ผู้สอน
Asynchronous Learning
Asynchronous Learning คือ รูปแบบ การเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือ เข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้ การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับ ผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)
แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อ สาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา ทำให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face - to - Face แต่ถ้าหากใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุน การเรียนรู้ การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอน ไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเองโดยผ่านสื่อ ต่าง ๆ เช่น Multimedia Computer, Telephone และ Computer Linking Infrastructure, The Internet และ World Wide Web, E - Mail, Conference System และอื่น ๆ เช่น Audio - Video เป็นต้น
สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย Vannevar Bush เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเขากล่าวว่า น่าจะมี เครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่องความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและ การเขียนที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร ภาพกราฟิค อย่างง่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุด ต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือ เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใน แต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
สำหรับการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตรงกัน ดังนี้
1.เป็นผลงานที่เกิดจากแนวคิด วิธีการ กระบวนการใหม่ ๆ องค์ความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยมีปรากฏที่ใดมาก่อน หรือเป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุง พัฒนาหรือใช้วิธีการใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครทำแต่ได้ผลดียิ่งกว่าผลงานเดิม
2.มีการใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
3.เป็นผลงานที่ไม่ชี้นำหรือขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552