การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) เป็นวิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเพิ่มพูนแรงจูงใจทางการเรียน โดยการจัดสถานการณ์ และบรรยากาศให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านสติปัญญาหรือความถนัด และสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของคนเอง และของสมาชิกในกลุ่ม รับผิดชอบความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มพิจารณาจากความสำเร็จในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ทำให้นักเรียนที่เรียนเก่งได้รักการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตัว นักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่ม จนทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจากหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเทคนิควิธีที่นิยมใช้กันอยู่ 4 เทคนิคคือ
1. เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) เช่นเทคนิคที่นำประโยชน์ของการแข่งขันมาช่วย โดยการทำกิจกรรมการแข่งขันที่เป็นลักษณะกลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกประมาณ กลุ่มละ 4-5 คน ที่มีผลการเรียน เพศ และอายุ แตกต่างกัน กิจกรรมขอกลุ่ม คือหลังจากที่ครูบทเรียนแต่ละบทแล้ว กลุ่มจะต้องเตรียมสมาชิกทุกคนของกลุ่มเพื่อตอบคำถามของครูในวันต่อไป โดยนักเรียนในกลุ่มจะช่วยกันถามตอบตามเนื่อหาในเอกสารที่ครูแจกให้ ในการแข่งขันครูจะให้นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับเดี่ยวกันในแต่ละกลุ่มมาแข่งจันกัน คะแนนที่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนท่ำได้ จะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม เมื่อเสร็จการแข่งขันแต่ละครั้ง ครูจะทำตารางเพื่อประกาศผลคุแนของแต่ละกลุ่ม และคะแนนของคนที่ได้คะแนนสูงสุด
2. เทคนิคการสอนแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) เป็นเทคนิคที่ทำให้นักเรียนช่วยกันตั้งคำถามอภิปรายในห้องเรียน และค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการร่วมกันในการเรียน นักเรียนจะเลือกหัวข้อที่ตนสนใจในบทเรียนแต่ละบท แล้วแบ่งกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-6 คน แต่ละกลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบ ศึกษาและเตรียมอภิปรายเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนในนามกลุ่มเพื่อในชั้น และครูจะประเมินผลงานของแต่ละกลุ่มย่อย จากโครงสร้างกิจกรรมรูปแบบนี้ นักเรีนจะมีอำนาจในการควบคุมการเรียนของตนเองสูง การทำกิจกรรมในกลุ่มขึ้นต่อกันมาก แต่ยังไม่มีระบบการให้คะแนนที่แน่นอน
3. เทคนิคการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Team Achievement Division หรือ STAD) เป็นเทคนิคที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่เป็นวงจรตามลำดับขั้นดังนี้ คือ ครูสอนบทเรียน นักเรียน 4-5 คน ในแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันตามที่ครูกำหนด ให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกัน ซักถามกัน ตรวจงานกัน แนะนำนักเรียนให้อธิบายวิธีทำแบบฝึกหัดให้เพื่อฟัง เมื่อจบบทเรียน ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ ซึ่งนักเรียนแต่ะคนต้องทำด้วยตนเอง จะช่วยกันไม่ได้ ครูแจ้งคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มให้นักเรีนทราบ และถือว่าเป็นคุแนนของนักเรียนในแต่ละกลุ่มด้วย นักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
4. เทคนิคการต่อบทเรียน (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเช่นเดียวกับ STAD โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเช่นเดียวกัน ครูแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อย เท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรีนแต่ละกลุ่มค้นคว่าหัวข้อเดียวกัน จะศึกษาบทเรียนหัวข้อนั้นร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนเองเพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อทุกคนฟัง และทำแบบฝึกหัด ซึ่งจะถามเรื่อราวเกี่ยวกับบทเรียนทั้งบท และให้คะแนนเป็นรายบุคคล จึงต้องอาศัยความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าแต่ละหัวข้อ และนำสิ่งที่ตนค้นคว้าได้มารวมกัน จึงได้เนื้อหาครบถ้วน มีการให้รางวัลแบบรายบุคคล จัดเป็นกิจกรรมที่สนองจุดมุ่งหมายขอแต่ละคนมากกว่ากลุ่ม
ดังนั้นหากครูสามารถศึกษาแนวคิดหลักการ หรือทฤษฎีทางการศึกษาได้มากเท่าใด ก็จะช่วยให้สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอน เทคนิคการเรียนรู้ของนักเรียน ได้มากขึ้นเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ชูศรี วงศ์รัตนะ และคณะ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัททิปส์ พับบลิเคชั่น จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. พ.ศ. 2544 165 หน้า (หน้า 67-70)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น