วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ทฤษฎีทางจิตวิทยาของแฮร์บาร์ต

ทฤษฎีทางจิตวิทยาของแฮร์บาร์ต

1.เด็กเกิดมานั้นจิตใจว่างเปล่า ไม่มีอำนาจอะไรติดตัวมาจากธรรมชาติ
2.ความเจริญของจิตเกิดจากการกระทำ (Action) และปฏิกิริยา (Reaction) ของความรู้สึกนึกคิด
3.จิตส่วนที่เกี่ยวกับการหาเหตุผล ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หากไม่ได้รับการดัดแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมแล้ว เราไม่อาจจะ นำไปใช้ในการเรียนวิชาภาษา หรือธรรมชาติได้เลย

ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต

ความมุ่งหมายของการศึกษา ควรเป็นไปเพื่อสังคมมากกว่าเอกชน และควรเป็นไปเพื่อการเตรียมตัวบุคคลให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขในสังคม มิใช่เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับแบบฉบับดั้งเดิม การส่งเสริมสร้างความเจริญตามธรรมชาติของผู้เรียน การรับการถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมแต่ความคิดความอ่าน แต่ควรเป็นไปเพื่อส่งเสริมศีลธรรมจรรยา และประชาคมทั้งหมดด้วย
ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต
1.ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.ความสัมพันธ์กับประชาคม

แฮร์บาร์ต แบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 2 พวก คือ
1.ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และภาษา
2.วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ทฤษฎีด้านจริยศาสตร์ของแฮร์บาร์ต
โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ต้องจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม (Humanistic Studies)
2.ต้องให้การอบรมแก่เด็กให้คุ้นเคยกับความคิดที่ดีงาม

ทฤษฎีและวิธีการสอนของแฮร์บาร์ต
แฮร์บาร์ต ถือว่า ความสนใจ เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการเรียนรู้ และการสอนที่ดี ความสนใจหากเป็นไปเองโดยธรรมชาติก็ย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าจำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้นหรือบังคับสนใจ ก็อาจจะทำได้แต่ผลที่ได้รับจะไม่เป็นที่น่าพึง และเป็นไปได้ไม่นาน การชักจูงให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นโดยไม่ต้องใช้อำนาจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการ บังคับนั้นจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของผู้สอน และเด็กจะต้องรู้สึกสนใจในวิชาที่ครูสอนอย่างจริงจัง จึงจะสามารถนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เก่าได้

“วิธีสอนตามขั้นทั้ง 5 ของแฮร์บาร์ต” (Herbartian Five Formal Steps)

1.ขั้นเตรียม (Preparation)
2.ขั้นสอน (Presentation)
3.ขั้นทบทวน (Association or Comparision)
4.ขั้นสรุป (Formulation or Generalization)
5.ขั้นใช้ (Application)

ไม่มีความคิดเห็น: