หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน Basic Education Curriculum 2008
ประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
· เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร : เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ
· เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน : ๑.ความสามารถในการสื่อสาร ๒.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ๓.ทักษะการแก้ปัญหา ๔.ทักษะชีวิต ๕.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
· ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ
· ปรับตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี : ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ จะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา
· กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง : กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นจุดร่วมที่ผู้เรียนให้ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น
· ปรับโครงสร้างเวลาเรียน : กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละปีไว้ โดยเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆ และในกลุ่มสาระต่างๆ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น
· ปรับเกณฑ์การวัดประเมินผล : ระดับประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต และกำหนดให้การบริการสังคม (Community Service) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ
สพฐ.ได้เตรียมการขับเคลื่อนโดยเตรียมพัฒนาบุคลากรจัดทำเอกสาร พัฒนา Website เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรฉบับนี้จะเริ่มใช้ในโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่มีความพร้อม ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และใช้ในโรงเรียนทั่วไปในปีการศึกษา ๒๕๕๓ สพฐ.จะดำเนินการขับเคลื่อน ๓ ระยะ คือ
- ระยะที่หนึ่ง การเปิดตัว เตรียมตัว ทั้งด้านเอกสาร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับ ปรับปรุงสื่อต่างๆ ให้เตรียมพร้อม โรงเรียนจะต้องทบทวน ปรับปรุงหลักสูตรเทียบกับหลักสูตรใหม่ที่ ศธ. ประกาศ
- ระยะที่สอง นำร่องในโรงเรียนที่มีความพร้อมในแต่ละเขตพื้นที่ จำนวน ๕๕๕ โรงเรียน โดยมีกติกาว่า นำร่องในโรงเรียน Top ๑๐ ในแต่ละเขต ถ้าใส่ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ลงไป เพื่อเป็น Best Practice ที่อยู่ในพื้นที่ และจะมีการเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินงานจริง
- ระยะที่สาม ดำเนินงานจริงในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งจะมีข้อมูลที่สมบูรณ์แล้ว
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จะช่วยให้ครูผู้สอน มีความสะดวก และมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในการออกแบบการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่คาดหวัง สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551
การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครู
การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครู
การขอต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครูอย่างน้อยน่าจะมีการทดสอบความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ ที่ใช้อยู่จำนวน 100 ข้อ ส่วนจะตรวจสอบหลักฐานอื่น ๆ ยังไม่ได้แจ้ง ดังนั้น คุณครูน่าจะเตรียมความรู้เรื่องหลักสูตรฯวิชาที่สอนอยู่ เรื่องหลักสูตรฯวิชาที่สอน(อาจจะเป็น มาตรฐานหลักสูตรฯ มาตรฐานช่วงชั้น หรือตัวชี้วัดชั้นปีของหลักสูตรใหม่ สาระการเรียนรู้ ฯลฯ)เทคนิคการสอน สื่อการสอน การวัดประเมินผล การประเมินตามสภาพจริง ผมมีความคิดเห็นว่าน่าจะเตรียมดังกล่าวไว้ ถ้าได้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมอีก จะแจ้งให้ทราบต่อไป อย่าลืม การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครู เราต้องยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันใบประกอบวิชาชีพเดิมหมดอายุ 180 วันครับ
กรณีที่ใบประกอบวิชาชีพครูหมดอายุ ขอให้ไปติดต่อที่ คุรุสภา(สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) จะเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ยื่นคำร้องขอครับ ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2804331 , 02-2804334-9
การขอต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครูอย่างน้อยน่าจะมีการทดสอบความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ ที่ใช้อยู่จำนวน 100 ข้อ ส่วนจะตรวจสอบหลักฐานอื่น ๆ ยังไม่ได้แจ้ง ดังนั้น คุณครูน่าจะเตรียมความรู้เรื่องหลักสูตรฯวิชาที่สอนอยู่ เรื่องหลักสูตรฯวิชาที่สอน(อาจจะเป็น มาตรฐานหลักสูตรฯ มาตรฐานช่วงชั้น หรือตัวชี้วัดชั้นปีของหลักสูตรใหม่ สาระการเรียนรู้ ฯลฯ)เทคนิคการสอน สื่อการสอน การวัดประเมินผล การประเมินตามสภาพจริง ผมมีความคิดเห็นว่าน่าจะเตรียมดังกล่าวไว้ ถ้าได้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมอีก จะแจ้งให้ทราบต่อไป อย่าลืม การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครู เราต้องยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันใบประกอบวิชาชีพเดิมหมดอายุ 180 วันครับ
กรณีที่ใบประกอบวิชาชีพครูหมดอายุ ขอให้ไปติดต่อที่ คุรุสภา(สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) จะเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ยื่นคำร้องขอครับ ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2804331 , 02-2804334-9
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) เป็นวิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเพิ่มพูนแรงจูงใจทางการเรียน โดยการจัดสถานการณ์ และบรรยากาศให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านสติปัญญาหรือความถนัด และสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของคนเอง และของสมาชิกในกลุ่ม รับผิดชอบความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มพิจารณาจากความสำเร็จในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ทำให้นักเรียนที่เรียนเก่งได้รักการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตัว นักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่ม จนทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจากหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเทคนิควิธีที่นิยมใช้กันอยู่ 4 เทคนิคคือ
1. เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) เช่นเทคนิคที่นำประโยชน์ของการแข่งขันมาช่วย โดยการทำกิจกรรมการแข่งขันที่เป็นลักษณะกลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกประมาณ กลุ่มละ 4-5 คน ที่มีผลการเรียน เพศ และอายุ แตกต่างกัน กิจกรรมขอกลุ่ม คือหลังจากที่ครูบทเรียนแต่ละบทแล้ว กลุ่มจะต้องเตรียมสมาชิกทุกคนของกลุ่มเพื่อตอบคำถามของครูในวันต่อไป โดยนักเรียนในกลุ่มจะช่วยกันถามตอบตามเนื่อหาในเอกสารที่ครูแจกให้ ในการแข่งขันครูจะให้นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับเดี่ยวกันในแต่ละกลุ่มมาแข่งจันกัน คะแนนที่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนท่ำได้ จะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม เมื่อเสร็จการแข่งขันแต่ละครั้ง ครูจะทำตารางเพื่อประกาศผลคุแนของแต่ละกลุ่ม และคะแนนของคนที่ได้คะแนนสูงสุด
2. เทคนิคการสอนแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) เป็นเทคนิคที่ทำให้นักเรียนช่วยกันตั้งคำถามอภิปรายในห้องเรียน และค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการร่วมกันในการเรียน นักเรียนจะเลือกหัวข้อที่ตนสนใจในบทเรียนแต่ละบท แล้วแบ่งกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-6 คน แต่ละกลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบ ศึกษาและเตรียมอภิปรายเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนในนามกลุ่มเพื่อในชั้น และครูจะประเมินผลงานของแต่ละกลุ่มย่อย จากโครงสร้างกิจกรรมรูปแบบนี้ นักเรีนจะมีอำนาจในการควบคุมการเรียนของตนเองสูง การทำกิจกรรมในกลุ่มขึ้นต่อกันมาก แต่ยังไม่มีระบบการให้คะแนนที่แน่นอน
3. เทคนิคการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Team Achievement Division หรือ STAD) เป็นเทคนิคที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่เป็นวงจรตามลำดับขั้นดังนี้ คือ ครูสอนบทเรียน นักเรียน 4-5 คน ในแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันตามที่ครูกำหนด ให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกัน ซักถามกัน ตรวจงานกัน แนะนำนักเรียนให้อธิบายวิธีทำแบบฝึกหัดให้เพื่อฟัง เมื่อจบบทเรียน ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ ซึ่งนักเรียนแต่ะคนต้องทำด้วยตนเอง จะช่วยกันไม่ได้ ครูแจ้งคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มให้นักเรีนทราบ และถือว่าเป็นคุแนนของนักเรียนในแต่ละกลุ่มด้วย นักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
4. เทคนิคการต่อบทเรียน (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเช่นเดียวกับ STAD โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเช่นเดียวกัน ครูแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อย เท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรีนแต่ละกลุ่มค้นคว่าหัวข้อเดียวกัน จะศึกษาบทเรียนหัวข้อนั้นร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนเองเพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อทุกคนฟัง และทำแบบฝึกหัด ซึ่งจะถามเรื่อราวเกี่ยวกับบทเรียนทั้งบท และให้คะแนนเป็นรายบุคคล จึงต้องอาศัยความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าแต่ละหัวข้อ และนำสิ่งที่ตนค้นคว้าได้มารวมกัน จึงได้เนื้อหาครบถ้วน มีการให้รางวัลแบบรายบุคคล จัดเป็นกิจกรรมที่สนองจุดมุ่งหมายขอแต่ละคนมากกว่ากลุ่ม
ดังนั้นหากครูสามารถศึกษาแนวคิดหลักการ หรือทฤษฎีทางการศึกษาได้มากเท่าใด ก็จะช่วยให้สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอน เทคนิคการเรียนรู้ของนักเรียน ได้มากขึ้นเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ชูศรี วงศ์รัตนะ และคณะ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัททิปส์ พับบลิเคชั่น จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. พ.ศ. 2544 165 หน้า (หน้า 67-70)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) เป็นวิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเพิ่มพูนแรงจูงใจทางการเรียน โดยการจัดสถานการณ์ และบรรยากาศให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านสติปัญญาหรือความถนัด และสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของคนเอง และของสมาชิกในกลุ่ม รับผิดชอบความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มพิจารณาจากความสำเร็จในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ทำให้นักเรียนที่เรียนเก่งได้รักการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตัว นักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่ม จนทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจากหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเทคนิควิธีที่นิยมใช้กันอยู่ 4 เทคนิคคือ
1. เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) เช่นเทคนิคที่นำประโยชน์ของการแข่งขันมาช่วย โดยการทำกิจกรรมการแข่งขันที่เป็นลักษณะกลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกประมาณ กลุ่มละ 4-5 คน ที่มีผลการเรียน เพศ และอายุ แตกต่างกัน กิจกรรมขอกลุ่ม คือหลังจากที่ครูบทเรียนแต่ละบทแล้ว กลุ่มจะต้องเตรียมสมาชิกทุกคนของกลุ่มเพื่อตอบคำถามของครูในวันต่อไป โดยนักเรียนในกลุ่มจะช่วยกันถามตอบตามเนื่อหาในเอกสารที่ครูแจกให้ ในการแข่งขันครูจะให้นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับเดี่ยวกันในแต่ละกลุ่มมาแข่งจันกัน คะแนนที่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนท่ำได้ จะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม เมื่อเสร็จการแข่งขันแต่ละครั้ง ครูจะทำตารางเพื่อประกาศผลคุแนของแต่ละกลุ่ม และคะแนนของคนที่ได้คะแนนสูงสุด
2. เทคนิคการสอนแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) เป็นเทคนิคที่ทำให้นักเรียนช่วยกันตั้งคำถามอภิปรายในห้องเรียน และค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการร่วมกันในการเรียน นักเรียนจะเลือกหัวข้อที่ตนสนใจในบทเรียนแต่ละบท แล้วแบ่งกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-6 คน แต่ละกลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบ ศึกษาและเตรียมอภิปรายเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนในนามกลุ่มเพื่อในชั้น และครูจะประเมินผลงานของแต่ละกลุ่มย่อย จากโครงสร้างกิจกรรมรูปแบบนี้ นักเรีนจะมีอำนาจในการควบคุมการเรียนของตนเองสูง การทำกิจกรรมในกลุ่มขึ้นต่อกันมาก แต่ยังไม่มีระบบการให้คะแนนที่แน่นอน
3. เทคนิคการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Team Achievement Division หรือ STAD) เป็นเทคนิคที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่เป็นวงจรตามลำดับขั้นดังนี้ คือ ครูสอนบทเรียน นักเรียน 4-5 คน ในแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันตามที่ครูกำหนด ให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกัน ซักถามกัน ตรวจงานกัน แนะนำนักเรียนให้อธิบายวิธีทำแบบฝึกหัดให้เพื่อฟัง เมื่อจบบทเรียน ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ ซึ่งนักเรียนแต่ะคนต้องทำด้วยตนเอง จะช่วยกันไม่ได้ ครูแจ้งคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มให้นักเรีนทราบ และถือว่าเป็นคุแนนของนักเรียนในแต่ละกลุ่มด้วย นักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
4. เทคนิคการต่อบทเรียน (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเช่นเดียวกับ STAD โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเช่นเดียวกัน ครูแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อย เท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรีนแต่ละกลุ่มค้นคว่าหัวข้อเดียวกัน จะศึกษาบทเรียนหัวข้อนั้นร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนเองเพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อทุกคนฟัง และทำแบบฝึกหัด ซึ่งจะถามเรื่อราวเกี่ยวกับบทเรียนทั้งบท และให้คะแนนเป็นรายบุคคล จึงต้องอาศัยความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าแต่ละหัวข้อ และนำสิ่งที่ตนค้นคว้าได้มารวมกัน จึงได้เนื้อหาครบถ้วน มีการให้รางวัลแบบรายบุคคล จัดเป็นกิจกรรมที่สนองจุดมุ่งหมายขอแต่ละคนมากกว่ากลุ่ม
ดังนั้นหากครูสามารถศึกษาแนวคิดหลักการ หรือทฤษฎีทางการศึกษาได้มากเท่าใด ก็จะช่วยให้สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอน เทคนิคการเรียนรู้ของนักเรียน ได้มากขึ้นเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ชูศรี วงศ์รัตนะ และคณะ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัททิปส์ พับบลิเคชั่น จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. พ.ศ. 2544 165 หน้า (หน้า 67-70)
หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange)
รูปแบบการสอนของ Robert Gagne
โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
โดยในแต่ประการจะมีรายละเอียด ดังนี้
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากเร่งเร้าความสนใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไปในตัวอีกด้วย
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหาในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากจะมีผลดังกล่าวแล้ว ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้เรียนที่ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนก่อนเรียนบทเรียน จะสามารถจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว บทเรียนบางเรื่องอาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์จัดระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเนื้อหาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทานรวม กรณีนี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียงพอที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าพบว่าผู้เรียนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเรื่องการต่อตัวต้านทาน
แบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบทเรียนย่อยเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) หลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ในเนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิดสร้างภาพประกอบ แต่ก็ควรพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำเดียว อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามากไปในการปรากฏบนจอภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน บางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningfull Learning) นั้น ทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นนี้ก็คือ พยายามค้นหาเทคนิคในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ยังจะต้องพยายามหาวิถีทางที่จะทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียนนั้นมีความกระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้นว่า การใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ได้แก่ เทคนิคการให้ตัวอย่าง (Example) และตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่าง (Non-example) อาจจะช่วยทำให้ผู้เรียนแยกแยะความแตกต่างและเข้าใจมโนคติของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆ ชี้แนะจากจุดกว้างๆ และแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่สิ่งที่ง่ายกว่า ตามลำดับขั้น
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) นักการศึกษากล่าวว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับและขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว บทเรียนคอมพิวเตอร์ มีข้อได้เปรียบกว่าโสตทัศนูปการอื่นๆ เช่น วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เลือกกิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน กิจกรรมเหล่านี้เองที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อมีส่วนร่วม ก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีส่วนผูกประสานให้ความจำดีขึ้น
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิกอาจมีผลเสียอยู่บ้างตรงที่ผู้เรียนอาจต้องการดูผล ว่าหากทำผิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนแบบแขวนคอสำหรับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนอาจตอบโดยการกดแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจเนื้อหา เนื่องจากต้องการดูผลจากการแขวนคอ วิธีหลีกเลี่ยงก็คือ เปลี่ยนจากการนำเสนอภาพ ในทางบวก เช่น ภาพเล่นเรือเข้าหาฝั่ง ภาพขับยานสู่ดวงจันทร์ ภาพหนูเดินไปกินเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะไปถึงจุดหมายได้ด้วยการตอบถูกเท่านั้น หากตอบผิดจะไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูงหรือ
เนื้อหาที่มีความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟจะเหมาะสมกว่า
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกประเภท นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว การทดสอบยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วย แบบทดสอบจึงควรถามแบบเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ถ้าบทเรียนมีหลายหัวเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหา โดยมีแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนอีกชุดหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบบทเรียนต้องการแบบใด
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป
โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
โดยในแต่ประการจะมีรายละเอียด ดังนี้
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากเร่งเร้าความสนใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไปในตัวอีกด้วย
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหาในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากจะมีผลดังกล่าวแล้ว ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้เรียนที่ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนก่อนเรียนบทเรียน จะสามารถจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว บทเรียนบางเรื่องอาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์จัดระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเนื้อหาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทานรวม กรณีนี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียงพอที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าพบว่าผู้เรียนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเรื่องการต่อตัวต้านทาน
แบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบทเรียนย่อยเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) หลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ในเนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิดสร้างภาพประกอบ แต่ก็ควรพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำเดียว อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามากไปในการปรากฏบนจอภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน บางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningfull Learning) นั้น ทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นนี้ก็คือ พยายามค้นหาเทคนิคในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ยังจะต้องพยายามหาวิถีทางที่จะทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียนนั้นมีความกระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้นว่า การใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ได้แก่ เทคนิคการให้ตัวอย่าง (Example) และตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่าง (Non-example) อาจจะช่วยทำให้ผู้เรียนแยกแยะความแตกต่างและเข้าใจมโนคติของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆ ชี้แนะจากจุดกว้างๆ และแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่สิ่งที่ง่ายกว่า ตามลำดับขั้น
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) นักการศึกษากล่าวว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับและขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว บทเรียนคอมพิวเตอร์ มีข้อได้เปรียบกว่าโสตทัศนูปการอื่นๆ เช่น วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เลือกกิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน กิจกรรมเหล่านี้เองที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อมีส่วนร่วม ก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีส่วนผูกประสานให้ความจำดีขึ้น
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิกอาจมีผลเสียอยู่บ้างตรงที่ผู้เรียนอาจต้องการดูผล ว่าหากทำผิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนแบบแขวนคอสำหรับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนอาจตอบโดยการกดแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจเนื้อหา เนื่องจากต้องการดูผลจากการแขวนคอ วิธีหลีกเลี่ยงก็คือ เปลี่ยนจากการนำเสนอภาพ ในทางบวก เช่น ภาพเล่นเรือเข้าหาฝั่ง ภาพขับยานสู่ดวงจันทร์ ภาพหนูเดินไปกินเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะไปถึงจุดหมายได้ด้วยการตอบถูกเท่านั้น หากตอบผิดจะไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูงหรือ
เนื้อหาที่มีความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟจะเหมาะสมกว่า
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกประเภท นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว การทดสอบยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วย แบบทดสอบจึงควรถามแบบเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ถ้าบทเรียนมีหลายหัวเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหา โดยมีแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนอีกชุดหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบบทเรียนต้องการแบบใด
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
๑.รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น
๒.รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
๓.จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
๔.ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
๕.เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
๖.ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
๗.ตั้งใจให้ชัดเจน โปรแกรมจิตใจตนเอง ด้วยการกำหนดว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
๘.เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
๙.กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด+ ฉลาดพูด + ฉลาดทำ
ฉลาดคิด ---> ควบคุมความคิดได้ คิดในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์
ฉลาดพูด ---> เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้คนเองและบุคคลอื่นเดือดร้อน
ฉลาดทำ ---> "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ "ทำได้" มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ
ความฉลาดทางอารมณ์กับความรักและครอบครัว
ครอบครัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและยอมรับได้ในข้อบกพร่องของผู้อื่น อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงมีผลอย่างมากต่อความสงบสุขในบ้าน หรือในชีวิตคู่ ปัญหาความแตกแยก หย่าร้างที่เกิดขึ้นล้วนมีต้นตอมาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ไม่หันหน้าคุยกันดี ๆ หรือบางทีก็ใช้ความรุนแรง
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้คนสองคนไปกันรอด ตรงกันข้าม ถ้าคนเก่งสองคนอยู่ด้วยกัน แล้วไม่ยอมกันพยายามที่จะเอาชนะคะคานกัน อนาคตก็คงไม่พ้นการหย่าร้าง ด้วยเหตุนี้ คนเก่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงล้มเหลวในชีวิตคู่
การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตคู่ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อุปสรรคและปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ การเรียนรู้ธรรมชาติและความต้องการของแต่ละฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อคนเรามีความข้าใจ ความยอมรับได้ก็จะตามมา
การรู้ธรรมชาติของชายหญิง จะช่วยให้เราอ่านใจ อ่านอารมณ์ของอีกฝ่ายออก ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และถูกใจคนที่เรารัก
แน่นอนว่า ในการเรียนรู้เรื่องความรักและการอยู่ร่วมกัน "หัวใจ" เท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจึงไม่ช่วยอะไรมากนักกับการประคองนาวารักของคนสองคน
ในทางจิตวิทยา กล่าวถึงอีคิวกับการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเอาไว้ว่า
๑.สนใจ และเข้าใจในความกังวลของคนในครอบครัว
๒.รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในครอบครับได้ดี
๓.รู้และเข้าใจศักยภาพ ส่งเสริมความรู้ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวให้ถูกทาง
๔.ความจริงใจต่อกัน เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง
จากคู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 20-23
๑.รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น
๒.รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
๓.จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
๔.ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
๕.เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
๖.ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
๗.ตั้งใจให้ชัดเจน โปรแกรมจิตใจตนเอง ด้วยการกำหนดว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
๘.เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
๙.กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด+ ฉลาดพูด + ฉลาดทำ
ฉลาดคิด ---> ควบคุมความคิดได้ คิดในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์
ฉลาดพูด ---> เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้คนเองและบุคคลอื่นเดือดร้อน
ฉลาดทำ ---> "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ "ทำได้" มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ
ความฉลาดทางอารมณ์กับความรักและครอบครัว
ครอบครัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและยอมรับได้ในข้อบกพร่องของผู้อื่น อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงมีผลอย่างมากต่อความสงบสุขในบ้าน หรือในชีวิตคู่ ปัญหาความแตกแยก หย่าร้างที่เกิดขึ้นล้วนมีต้นตอมาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ไม่หันหน้าคุยกันดี ๆ หรือบางทีก็ใช้ความรุนแรง
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้คนสองคนไปกันรอด ตรงกันข้าม ถ้าคนเก่งสองคนอยู่ด้วยกัน แล้วไม่ยอมกันพยายามที่จะเอาชนะคะคานกัน อนาคตก็คงไม่พ้นการหย่าร้าง ด้วยเหตุนี้ คนเก่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงล้มเหลวในชีวิตคู่
การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตคู่ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อุปสรรคและปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ การเรียนรู้ธรรมชาติและความต้องการของแต่ละฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อคนเรามีความข้าใจ ความยอมรับได้ก็จะตามมา
การรู้ธรรมชาติของชายหญิง จะช่วยให้เราอ่านใจ อ่านอารมณ์ของอีกฝ่ายออก ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และถูกใจคนที่เรารัก
แน่นอนว่า ในการเรียนรู้เรื่องความรักและการอยู่ร่วมกัน "หัวใจ" เท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจึงไม่ช่วยอะไรมากนักกับการประคองนาวารักของคนสองคน
ในทางจิตวิทยา กล่าวถึงอีคิวกับการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเอาไว้ว่า
๑.สนใจ และเข้าใจในความกังวลของคนในครอบครัว
๒.รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในครอบครับได้ดี
๓.รู้และเข้าใจศักยภาพ ส่งเสริมความรู้ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวให้ถูกทาง
๔.ความจริงใจต่อกัน เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง
จากคู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 20-23
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551
ทฤษฎีแนวคิดของบลูมและคณะ
การจำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาตามแนวคิดของบลูมและคณะ
(Taxonomy of Educational Objectives: Bloom and others)
Bloom และคณะได้จำแนกจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในการสอนออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.ด้านพุทธิสัย (Cognitive Domain) เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านปัญญา (Intellectual Outcome)คือ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการใช้ความคิด (Thinking Skill)ซึ่งสามารถจำแนกและจัดลำดับความสามารถทางปัญญจากระดับพื้นฐานถึงระดับสูงได้ 6 ระดับ คือ
1.1 ความรู้ความจำ (Knowledge) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงขั้นความสามารถในการจดจำเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้ได้แก่ ความรู้ที่เฉพาะเจาะจง ข้อเท็จจริง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือหลักการ เหตุการณ์ เป็นต้น
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถในการใช้ความคิดเพื่อศึกษาเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เคยเรียน โดยสามารถอธิบายด้วยคำพูดของตนเองหรืออาจจะสามารถแปลความหมาย (Translation )หรือตีความหมาย (Interpretation ) และสามารถสรุปความและอ้างอิงต่อได้ในสิ่งที่ศึกษาได้
1.3 การนำความรู้มาใช้ ( Application )เป็นความสามารถในการนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยพบได้ โดยสามารถนำความรู้ของตนไปแก้ปัญหาหรือไปปรับวิธีการเก่าให้ดีกว่าเดิม
1.4 การวิเคราะห์ ( Analysis ) เป็นความสามารถในการใช้สมองแยกแยะสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ออกเป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง หลักการหรือความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ได้
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการนำข้อมูลจากองค์ประกอบย่อย ๆ มาผสมผสานเพื่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เกิดความกระจ่างหรือสร้างหรือออกแบบสิ่งใหม่ ๆ เรื่องใหม่ ๆ หรือหลักการและเกณฑ์ต่าง ๆ
2.ด้านจิตพิสัย ( Affective Domain) เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้เรียนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรืออารมณ์ เช่น เจตคติ(Attitude) ค่านิยม (Value) ความสนใจ (Interest)และความซาบซึ้ง ( Appreciation) ซึ่งอาจสังเกตได้จากท่าทีที่แสดงออกมา Krathwohl และคณะได้จัดแบ่งพฤติกรรมด้านความรู้สึกได้ 5 ระดับดังนี้
2.1การรับรู้ ( Receiving or Attending )เป็นขั้นแรกของความรู้สึกซึ่งเหมือนกับขั้นความรู้ความจำด้านพุทธิพิสัย ถือเป็นการสัมผัสเบื้องต้น เพียงได้รู้ได้เห็นเท่านั้นแต่ยังไม่ได้นำไปใช้อะไร ซึ่งการรับรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
-การรู้จัก ( Awareness ) เป็นพฤติกรรมขั้นแรกที่คนรู้จักกับสิ่งเร้าว่ามันเป็นอะไร เป็นการรู้จักเพียงผิวเผินเท่านั้น
-การเต็มใจที่จะยอมรับสิ่งเร้า ( Willingness to Receive ) ขั้นนี้เป็นขั้นเต็มใจหรือพอใจที่จะรับรู้ มีความอ่อนโยนต่อสิ่งที่พบเห็น
-การควบคุมหรือคัดเลือกความสนใจที่มีต่อสิ่งเร้า ( Controlled or Selected Attention) ความรู้สึกระดับนี้เป็นความรู้สึกต่อเนื่องจากขั้นที่แล้ว ที่แตกต่างออกไปคือความรู้สึกที่จะบอกได้ว่าอะไรควรเอาใจใส่ อะไรไม่ควรเอาใจใส่ เช่น ความรู้สึกชอบต่อสิ่งนี้อยากได้สิ่งนั้น จึงมองในลักษณะควบคุมหรือเลือกมากขึ้น
2.2การตอบสนอง (Responding) ขั้นนี้เป็นขั้นที่มีจิตใจจดจ่อเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งเร้าเกิดความสนใจ ชื่นชอบกิจกรรมหนึ่งมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งปฏิกิริยาโต้ตอบนั้นเป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
-การยินยอมในการตอบสนอง ( Acquiscence in Responding ) เป็นความรู้สึกเชื่อฟังหรือยอมรับที่จะทำเอาแต่อาจจะไม่พอใจเท่าไรนัก เช่น การเชื่อฟังกฎเกณฑ์ที่กำหนด ความตั้งใจทำตามระเบียบ
-การเต็มใจตอบสนอง ( Willingness to Response ) เป็นระดับความรู้สึกเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ความร่วมมือทำตามความต้องการหรือความสมัครใจ เช่น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
-การพึงพอใจที่ได้รับจากการตอบสนอง ( Satisfaction in Response ) เป็นลักษณะที่เห็นได้จากหลังการตอบสนองแล้ว
2.3การเห็นคุณค่า ( Valuing ) ขั้นนี้เป็นความรู้สึกรู้คุณค่าและเริ่มผูกพันตนเองกับสิ่งนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้น
-การยอมรับคุณค่า ( Acceptance of Value ) เป็นความพร้อมที่จะรับว่าสิ่งเร้ามีคุณค่าหรือมีประโยชน์อย่างไรเป็นการยอมรับทางอารมณ์
-การนิยมในคุณค่า ( Preference for a Value ) ในระดับนี้ไม่เพียงแต่เป็นการยอมรับคุณค่า แต่เพิ่มความรู้สึกเอาใจใส่ในคุณค่าหรือค่านิยมนั้นเพิ่มขึ้นอีก
-การผูกพันในคุณค่า ( Commiting or Conviction ) เป็นความรู้สึกหรือความคิดฝังแน่นในคุณค่านั้น ซึ่งจิตพิสัยในขั้นนี้เป็นลักษณะของเจตคติ ( Attitude ) และความซาสบซึ้ง ( Appreciation ) ที่เห็นชัดเจน
2.4การจัดระบบ ( Organization )เป็นขั้นการจัดระบบค่านิยมหลายอย่างที่กระจัดกระจายเข้าเป็นหมวดหมู่และส่วนหนึ่งของความคิดที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีความหมายที่พอใจ โดยสามารถตัดสินได้ว่าอะไรมีคุณค่าที่สำคัญหรือมีบทบาทมากที่สุดและนำไปใช้เป็นประจำ ความรู้สึกระดับนี้แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
-การสร้างมโนภาพของคุณค่า ( Conceptualization of Value System ) เป็นการจัดคุณค่าเรื่องต่าง ๆ ได้ อันเป็นผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้สึกมาแล้วมาเรียกชื่อใหม่กลายเป็นมโนภาพของคุณค่าใหม่
-การจัดระบบคุณค่าให้เป็นระเบียบ ( Organization of Value System ) เป็นการรวบรวมคุณค่าเข้าด้วยกันจนเห็นภาพทั้งหมดจนเป็นอุดมการณ์ทางความคิดของแต่ละบุคคล
2.5การสร้างลักษณะนิสัย ( Characterization by a Value or Value Complex ) ขั้นนี้เป็นการผสมผสานระบบค่านิยมจนกลายเป็นความประพฤติหรือคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ความรู้สึกระดับนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นคือ
-การสรุปคุณค่าหรือค่านิยมในรูปใดรูปหนึ่ง ( Generalized Set ) เป็นระบบคุณค่าหรือค่านิยมที่เป็นผลให้มีการแสดงออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
-การสร้างลักษณะนิสัย ( Characterization ) เป็นผลรวมของความรู้สึกและการแสดงออกของแต่ละบุคคล
3.ด้านทักษะพิสัย ( Psychomotor Domain )เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการกระทำ (Doing)ของผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะความชำนาญโดยมุ่งพัฒนากล้ามเนื้อหรือวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่ง Dave ได้จัดแบ่งลำดับความชำนาญจากน้อยไปหามาก สามารถจัดแบ่งพฤติกรรมการฝึกทักษะปฏิบัติต่าง ๆ ได้ 5 ระดับคือ
3.1.การเลียนแบบ ( Imitation )เป็นการกระทำที่เกิดจากแรงผลักดันภายในและการทำซ้ำ โดยการเริ่มจากกระทำที่ต้องใช้ความพยามยามทำตามแบบอย่างที่มีต้นแบบหรือสาธิตให้ดูขณะปฏิบัติ
3.2.การปฏิบัติหรือการจัดการกระทำ ( Manipulation )เป็นความสามารถด้านการฝึกทักษะนั่นเอง โดยไม่มีแบบอย่างให้ดู
3.3.ความแม่นยำ ( Precision )เป็นการฝึกฝนตามแบบโดยอาศัยความรู้ที่เคยเรียนมาก่อนและกระทำได้อย่างคล่องแคล่ว ดัดแปลงตามที่เห็นสมควรในเวลาที่เหมาะสมให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.4.การนำทักษะไปใช้ ( Articuration )เป็นการรู้จักใช้ทักษะนั้น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ กันได้หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่องด้วยความถูกต้องโดยใช้เวลาน้อยที่สุด
3.5.การฝึกปฏิบัติด้วยความเป็นธรรมชาติ( Naturalization )เป็นการฝึกจนเกิดความชำนาญด้วยความถูกต้องและเป็นธรรมชาติ
(Taxonomy of Educational Objectives: Bloom and others)
Bloom และคณะได้จำแนกจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในการสอนออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.ด้านพุทธิสัย (Cognitive Domain) เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านปัญญา (Intellectual Outcome)คือ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการใช้ความคิด (Thinking Skill)ซึ่งสามารถจำแนกและจัดลำดับความสามารถทางปัญญจากระดับพื้นฐานถึงระดับสูงได้ 6 ระดับ คือ
1.1 ความรู้ความจำ (Knowledge) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงขั้นความสามารถในการจดจำเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้ได้แก่ ความรู้ที่เฉพาะเจาะจง ข้อเท็จจริง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือหลักการ เหตุการณ์ เป็นต้น
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถในการใช้ความคิดเพื่อศึกษาเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เคยเรียน โดยสามารถอธิบายด้วยคำพูดของตนเองหรืออาจจะสามารถแปลความหมาย (Translation )หรือตีความหมาย (Interpretation ) และสามารถสรุปความและอ้างอิงต่อได้ในสิ่งที่ศึกษาได้
1.3 การนำความรู้มาใช้ ( Application )เป็นความสามารถในการนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยพบได้ โดยสามารถนำความรู้ของตนไปแก้ปัญหาหรือไปปรับวิธีการเก่าให้ดีกว่าเดิม
1.4 การวิเคราะห์ ( Analysis ) เป็นความสามารถในการใช้สมองแยกแยะสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ออกเป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง หลักการหรือความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ได้
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการนำข้อมูลจากองค์ประกอบย่อย ๆ มาผสมผสานเพื่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เกิดความกระจ่างหรือสร้างหรือออกแบบสิ่งใหม่ ๆ เรื่องใหม่ ๆ หรือหลักการและเกณฑ์ต่าง ๆ
2.ด้านจิตพิสัย ( Affective Domain) เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้เรียนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรืออารมณ์ เช่น เจตคติ(Attitude) ค่านิยม (Value) ความสนใจ (Interest)และความซาบซึ้ง ( Appreciation) ซึ่งอาจสังเกตได้จากท่าทีที่แสดงออกมา Krathwohl และคณะได้จัดแบ่งพฤติกรรมด้านความรู้สึกได้ 5 ระดับดังนี้
2.1การรับรู้ ( Receiving or Attending )เป็นขั้นแรกของความรู้สึกซึ่งเหมือนกับขั้นความรู้ความจำด้านพุทธิพิสัย ถือเป็นการสัมผัสเบื้องต้น เพียงได้รู้ได้เห็นเท่านั้นแต่ยังไม่ได้นำไปใช้อะไร ซึ่งการรับรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
-การรู้จัก ( Awareness ) เป็นพฤติกรรมขั้นแรกที่คนรู้จักกับสิ่งเร้าว่ามันเป็นอะไร เป็นการรู้จักเพียงผิวเผินเท่านั้น
-การเต็มใจที่จะยอมรับสิ่งเร้า ( Willingness to Receive ) ขั้นนี้เป็นขั้นเต็มใจหรือพอใจที่จะรับรู้ มีความอ่อนโยนต่อสิ่งที่พบเห็น
-การควบคุมหรือคัดเลือกความสนใจที่มีต่อสิ่งเร้า ( Controlled or Selected Attention) ความรู้สึกระดับนี้เป็นความรู้สึกต่อเนื่องจากขั้นที่แล้ว ที่แตกต่างออกไปคือความรู้สึกที่จะบอกได้ว่าอะไรควรเอาใจใส่ อะไรไม่ควรเอาใจใส่ เช่น ความรู้สึกชอบต่อสิ่งนี้อยากได้สิ่งนั้น จึงมองในลักษณะควบคุมหรือเลือกมากขึ้น
2.2การตอบสนอง (Responding) ขั้นนี้เป็นขั้นที่มีจิตใจจดจ่อเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งเร้าเกิดความสนใจ ชื่นชอบกิจกรรมหนึ่งมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งปฏิกิริยาโต้ตอบนั้นเป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
-การยินยอมในการตอบสนอง ( Acquiscence in Responding ) เป็นความรู้สึกเชื่อฟังหรือยอมรับที่จะทำเอาแต่อาจจะไม่พอใจเท่าไรนัก เช่น การเชื่อฟังกฎเกณฑ์ที่กำหนด ความตั้งใจทำตามระเบียบ
-การเต็มใจตอบสนอง ( Willingness to Response ) เป็นระดับความรู้สึกเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ความร่วมมือทำตามความต้องการหรือความสมัครใจ เช่น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
-การพึงพอใจที่ได้รับจากการตอบสนอง ( Satisfaction in Response ) เป็นลักษณะที่เห็นได้จากหลังการตอบสนองแล้ว
2.3การเห็นคุณค่า ( Valuing ) ขั้นนี้เป็นความรู้สึกรู้คุณค่าและเริ่มผูกพันตนเองกับสิ่งนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้น
-การยอมรับคุณค่า ( Acceptance of Value ) เป็นความพร้อมที่จะรับว่าสิ่งเร้ามีคุณค่าหรือมีประโยชน์อย่างไรเป็นการยอมรับทางอารมณ์
-การนิยมในคุณค่า ( Preference for a Value ) ในระดับนี้ไม่เพียงแต่เป็นการยอมรับคุณค่า แต่เพิ่มความรู้สึกเอาใจใส่ในคุณค่าหรือค่านิยมนั้นเพิ่มขึ้นอีก
-การผูกพันในคุณค่า ( Commiting or Conviction ) เป็นความรู้สึกหรือความคิดฝังแน่นในคุณค่านั้น ซึ่งจิตพิสัยในขั้นนี้เป็นลักษณะของเจตคติ ( Attitude ) และความซาสบซึ้ง ( Appreciation ) ที่เห็นชัดเจน
2.4การจัดระบบ ( Organization )เป็นขั้นการจัดระบบค่านิยมหลายอย่างที่กระจัดกระจายเข้าเป็นหมวดหมู่และส่วนหนึ่งของความคิดที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีความหมายที่พอใจ โดยสามารถตัดสินได้ว่าอะไรมีคุณค่าที่สำคัญหรือมีบทบาทมากที่สุดและนำไปใช้เป็นประจำ ความรู้สึกระดับนี้แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
-การสร้างมโนภาพของคุณค่า ( Conceptualization of Value System ) เป็นการจัดคุณค่าเรื่องต่าง ๆ ได้ อันเป็นผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้สึกมาแล้วมาเรียกชื่อใหม่กลายเป็นมโนภาพของคุณค่าใหม่
-การจัดระบบคุณค่าให้เป็นระเบียบ ( Organization of Value System ) เป็นการรวบรวมคุณค่าเข้าด้วยกันจนเห็นภาพทั้งหมดจนเป็นอุดมการณ์ทางความคิดของแต่ละบุคคล
2.5การสร้างลักษณะนิสัย ( Characterization by a Value or Value Complex ) ขั้นนี้เป็นการผสมผสานระบบค่านิยมจนกลายเป็นความประพฤติหรือคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ความรู้สึกระดับนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นคือ
-การสรุปคุณค่าหรือค่านิยมในรูปใดรูปหนึ่ง ( Generalized Set ) เป็นระบบคุณค่าหรือค่านิยมที่เป็นผลให้มีการแสดงออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
-การสร้างลักษณะนิสัย ( Characterization ) เป็นผลรวมของความรู้สึกและการแสดงออกของแต่ละบุคคล
3.ด้านทักษะพิสัย ( Psychomotor Domain )เป็นจุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการกระทำ (Doing)ของผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะความชำนาญโดยมุ่งพัฒนากล้ามเนื้อหรือวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่ง Dave ได้จัดแบ่งลำดับความชำนาญจากน้อยไปหามาก สามารถจัดแบ่งพฤติกรรมการฝึกทักษะปฏิบัติต่าง ๆ ได้ 5 ระดับคือ
3.1.การเลียนแบบ ( Imitation )เป็นการกระทำที่เกิดจากแรงผลักดันภายในและการทำซ้ำ โดยการเริ่มจากกระทำที่ต้องใช้ความพยามยามทำตามแบบอย่างที่มีต้นแบบหรือสาธิตให้ดูขณะปฏิบัติ
3.2.การปฏิบัติหรือการจัดการกระทำ ( Manipulation )เป็นความสามารถด้านการฝึกทักษะนั่นเอง โดยไม่มีแบบอย่างให้ดู
3.3.ความแม่นยำ ( Precision )เป็นการฝึกฝนตามแบบโดยอาศัยความรู้ที่เคยเรียนมาก่อนและกระทำได้อย่างคล่องแคล่ว ดัดแปลงตามที่เห็นสมควรในเวลาที่เหมาะสมให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.4.การนำทักษะไปใช้ ( Articuration )เป็นการรู้จักใช้ทักษะนั้น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ กันได้หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่องด้วยความถูกต้องโดยใช้เวลาน้อยที่สุด
3.5.การฝึกปฏิบัติด้วยความเป็นธรรมชาติ( Naturalization )เป็นการฝึกจนเกิดความชำนาญด้วยความถูกต้องและเป็นธรรมชาติ
ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาท
ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาท เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับทฤษฎีการศึกษาสารัตถวาท โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ต่อต้านทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท มีรากฐานความคิดจากปรัชญาสำคัญ 2 สาขา คือ มโนคตินิยมและประจักษ์นิยม กลุ่มนักการศึกษาที่ร่วมกันบุกเบิกทฤษฎีนี้คือ โรเบอร์ต ฮัทชิน(Robert Hutchin) และมอร์ติเมอร์ แอดเลอร์(Mortimer Adler) ทฤษฎีการศึกษานี้ได้ชื่อว่าเป็น หนทางที่ย้อมกลับไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต(Regressive Road to Culture) ยึดถือแบบอย่างที่ดีงามอันเป็นนิรันดรเป็นหลักการจัดการศึกษา มีหลักการสำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1) มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเหมือนกันทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงควรจะเป็นแบบอย่างเดียวกันสำหรับทุกคน
2) เนื่องจากความมีเหตุผลรู้จักคิด จุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงควรจะเน้นการพันาความมีเหตุผลและความรู้จักคิด รู้จักใช้วิธีการแห่งปัญญาเป็นสำคัญ
3) หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาและการนำมาซึ่งความรู้อันเป็นนิรันดร เป็นสากลและไม่เปลี่ยนแปลง
4) การศึกษามิใช่การลอกเลียนแบบของชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อการดำรงชีวิต
5) นักเรียนควรได้เรียนรู้วิชาพื้นฐานของวิชาเพื่อจะได้เข้าใจและสามารถเข้าถึงสิ่งซึ่งเป็นสิ่งถาวรของโลก
6) การศึกษาควรจะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจลักษณะอันเป็นสากลของมนุษยชาติ
การจัดการศึกษาตามแนวทฤษฎีนี้มีลักษณะดังนี้
- หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่จัดให้โรงเรียนตามแนวนิรันตรนิยมทำการสอนมีดังนี้
1. วิชาพื้นฐาน คือ 3 R’S ได้แก่ อ่าน (Reading) เขียน (Writing) เลข (Arithemtic) และวิชาศิลปศาสตร์ ได้แก่ ศิลปะในการอ่าน การฟัง การเขียน การพูด การคิด โดยถือเป็นวิชาจำเป็นและบังคับให้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ต่อไปในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
2. เรียนผลงานอมตะของโลก ซึ่งประมวลมาจากวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จากหนังสือชุดอมตะวิทยา (Great Books) ซึ่งจะคัดเลือกผลงานจากอดีตและปัจจุบันประมวลขึ้นเป็นชุด เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้อันเป็นอมตะของโลก
3. สอนศาสนา
- บทบาทของสถานศึกษา โรงเรียนจะเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดพัฒนาการทางปัญญา เป็นสถานที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ดีงาม
- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้นั้นมุ่งพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน และการเน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ดีงามที่ได้บรรจุไว้ในหลักสูตร วิธีสอนที่นิยมใช้ คือ การบรรยาย การอภิปราย การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนั้นจะเน้นในเรื่อง ระเบียบวินัย ความประพฤติของนักเรียนให้อยู่ในกรอบ บรรยากาศในการเรียนการสอนจะเข้มงวด
- บทบาทของผู้สอน ผู้สอนคือผู้นำทางปัญญาให้แก่ผู้เรียน เป็นผู้รอบรู้ในเนื้อหาวิชานั้นอย่างกว้างขวาง เป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาสติปัญญาได้มากที่สุด เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของกาสอน เนื้อหาวิชา วิธีสอน และการประเมินผล และเป็นแบบอย่างของความดีงามที่ผู้เรียนพึงลอกเลียนแบบ
- บทบาทผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้ คิดใคร่ครวญตามที่ผู้สอนถ่ายทอด
ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาทเน้นเรื่องความสำคัญของครูและเนื้อหาวิชา เช่นเดียวกับสารัตถวาท การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ โดยผู้สอนใช้การบรรยาย ซักถามเป็นหลัก รวมทั้งเป็นผู้ควบคุม ดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบวินัย การจัดการเรียนการสอนที่ปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระมากเกินไปในการที่จะเลือกเรียนตามใจชอบเป็นการขัดขวางโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริง
1) มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเหมือนกันทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงควรจะเป็นแบบอย่างเดียวกันสำหรับทุกคน
2) เนื่องจากความมีเหตุผลรู้จักคิด จุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงควรจะเน้นการพันาความมีเหตุผลและความรู้จักคิด รู้จักใช้วิธีการแห่งปัญญาเป็นสำคัญ
3) หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาและการนำมาซึ่งความรู้อันเป็นนิรันดร เป็นสากลและไม่เปลี่ยนแปลง
4) การศึกษามิใช่การลอกเลียนแบบของชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อการดำรงชีวิต
5) นักเรียนควรได้เรียนรู้วิชาพื้นฐานของวิชาเพื่อจะได้เข้าใจและสามารถเข้าถึงสิ่งซึ่งเป็นสิ่งถาวรของโลก
6) การศึกษาควรจะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจลักษณะอันเป็นสากลของมนุษยชาติ
การจัดการศึกษาตามแนวทฤษฎีนี้มีลักษณะดังนี้
- หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่จัดให้โรงเรียนตามแนวนิรันตรนิยมทำการสอนมีดังนี้
1. วิชาพื้นฐาน คือ 3 R’S ได้แก่ อ่าน (Reading) เขียน (Writing) เลข (Arithemtic) และวิชาศิลปศาสตร์ ได้แก่ ศิลปะในการอ่าน การฟัง การเขียน การพูด การคิด โดยถือเป็นวิชาจำเป็นและบังคับให้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ต่อไปในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
2. เรียนผลงานอมตะของโลก ซึ่งประมวลมาจากวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จากหนังสือชุดอมตะวิทยา (Great Books) ซึ่งจะคัดเลือกผลงานจากอดีตและปัจจุบันประมวลขึ้นเป็นชุด เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้อันเป็นอมตะของโลก
3. สอนศาสนา
- บทบาทของสถานศึกษา โรงเรียนจะเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดพัฒนาการทางปัญญา เป็นสถานที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ดีงาม
- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้นั้นมุ่งพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน และการเน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ดีงามที่ได้บรรจุไว้ในหลักสูตร วิธีสอนที่นิยมใช้ คือ การบรรยาย การอภิปราย การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนั้นจะเน้นในเรื่อง ระเบียบวินัย ความประพฤติของนักเรียนให้อยู่ในกรอบ บรรยากาศในการเรียนการสอนจะเข้มงวด
- บทบาทของผู้สอน ผู้สอนคือผู้นำทางปัญญาให้แก่ผู้เรียน เป็นผู้รอบรู้ในเนื้อหาวิชานั้นอย่างกว้างขวาง เป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาสติปัญญาได้มากที่สุด เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของกาสอน เนื้อหาวิชา วิธีสอน และการประเมินผล และเป็นแบบอย่างของความดีงามที่ผู้เรียนพึงลอกเลียนแบบ
- บทบาทผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้ คิดใคร่ครวญตามที่ผู้สอนถ่ายทอด
ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาทเน้นเรื่องความสำคัญของครูและเนื้อหาวิชา เช่นเดียวกับสารัตถวาท การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ โดยผู้สอนใช้การบรรยาย ซักถามเป็นหลัก รวมทั้งเป็นผู้ควบคุม ดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบวินัย การจัดการเรียนการสอนที่ปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระมากเกินไปในการที่จะเลือกเรียนตามใจชอบเป็นการขัดขวางโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน (Constructionism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน (Constructionism)
ที่มาของทฤษฏี Constructionism เป็นทฤษฎีการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T(Massachusetts Institute of Technology) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของความรู้ (Theory of knowledge) โดย Jean Piaget
ความหมาย
ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2541) กล่าวว่า ทฤษฎี Constructionism ยึดหลักการที่ว่า การเรียนที่ทำให้มีกำลังทางความคิดมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง สิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง สร้างสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ ไม่มีใครที่จะบงการหรือกำหนดว่าสิ่งใดคือสิ่งที่มีความหมายของอีกคนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การมีทางเลือกจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructionism) จะเป็นการเรียนรู้ที่สังคมสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วม และความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยการประนีประนอมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ภาษาและวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้เรียนที่ใช้เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ผู้เรียนจะสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองมากกว่าที่จะซึม-ซาบความคิดความจริงที่เข้ามาสู่ตนเอง โดยมีมุ่งหมายของการเรียนที่ชัดเจน แต่แนวทางที่จะนำไปสู่ปลายทางนั้น จะเป็นอิสระ หรือเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีสิทธิที่จะเลือกแนวทางของตนได้
รุ่ง แก้วแดง (2541) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนแบบ Constructionism ว่าการเรียนลักษณะนี้เน้นกระบวนการเรียน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความคิดอิสระ แต่ละคนอาจมีวิธีคิด วิธีเรียนที่แตกต่างกัน ความรู้ทีได้ก็เป็นความรู้ของแต่ละบุคคล และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้เมื่อมีการเปลี่ยนข้อมูลมากกว่าที่จะมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียวในการเรียนระบบเดิม นอกจากนี้แล้วจะต้องเป็นการสอนเพื่อที่จะหาวิธีการเรียนรู้ (Learn how to learn)
การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง
1.ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่น ๆ และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยวิธีดูดซึม สร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ และกระบวนการของความสมดุล เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อม หรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้
2.ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบ หรือตัวแทนของสิ่งของ ปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือได้สร้างสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากจะทำด้วยตัวของเขาเอง โดยการมอบหมายงานให้เขาทำและให้โอกาสกับผู้เรียนในการตัดสินใจว่าเขาจะทำอะไร สิ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของ Constructionism
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
เช่น เดิมจะใช้เทคนิคการสอนแบบ Step by Step คือ ครูทำให้ดูและผู้เรียนทำตามทีละ Step ไปเรื่อยๆ ซึ่งจะสังเกตว่าผู้เรียนจะเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาที่สอนเท่านั้นและบางคนที่รู้คำสั่งเหล่านี้มาแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อนำหลักการของ Constructionismมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการสอนด้วยวิธี Step by Step เฉพาะพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ จากนั้นให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่เขาสนใจขึ้นมา 1 โปรแกรมโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าจะทำอะไรและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามกันเองได้(โดยการบอกกับผู้เรียนก่อน)
สรุป
หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ
1.ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล
2.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
3.มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ที่มาของทฤษฏี Constructionism เป็นทฤษฎีการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T(Massachusetts Institute of Technology) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของความรู้ (Theory of knowledge) โดย Jean Piaget
ความหมาย
ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2541) กล่าวว่า ทฤษฎี Constructionism ยึดหลักการที่ว่า การเรียนที่ทำให้มีกำลังทางความคิดมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง สิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง สร้างสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ ไม่มีใครที่จะบงการหรือกำหนดว่าสิ่งใดคือสิ่งที่มีความหมายของอีกคนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การมีทางเลือกจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructionism) จะเป็นการเรียนรู้ที่สังคมสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วม และความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยการประนีประนอมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ภาษาและวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้เรียนที่ใช้เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ผู้เรียนจะสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองมากกว่าที่จะซึม-ซาบความคิดความจริงที่เข้ามาสู่ตนเอง โดยมีมุ่งหมายของการเรียนที่ชัดเจน แต่แนวทางที่จะนำไปสู่ปลายทางนั้น จะเป็นอิสระ หรือเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีสิทธิที่จะเลือกแนวทางของตนได้
รุ่ง แก้วแดง (2541) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนแบบ Constructionism ว่าการเรียนลักษณะนี้เน้นกระบวนการเรียน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความคิดอิสระ แต่ละคนอาจมีวิธีคิด วิธีเรียนที่แตกต่างกัน ความรู้ทีได้ก็เป็นความรู้ของแต่ละบุคคล และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้เมื่อมีการเปลี่ยนข้อมูลมากกว่าที่จะมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียวในการเรียนระบบเดิม นอกจากนี้แล้วจะต้องเป็นการสอนเพื่อที่จะหาวิธีการเรียนรู้ (Learn how to learn)
การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง
1.ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่น ๆ และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยวิธีดูดซึม สร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ และกระบวนการของความสมดุล เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อม หรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้
2.ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบ หรือตัวแทนของสิ่งของ ปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือได้สร้างสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากจะทำด้วยตัวของเขาเอง โดยการมอบหมายงานให้เขาทำและให้โอกาสกับผู้เรียนในการตัดสินใจว่าเขาจะทำอะไร สิ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของ Constructionism
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
เช่น เดิมจะใช้เทคนิคการสอนแบบ Step by Step คือ ครูทำให้ดูและผู้เรียนทำตามทีละ Step ไปเรื่อยๆ ซึ่งจะสังเกตว่าผู้เรียนจะเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาที่สอนเท่านั้นและบางคนที่รู้คำสั่งเหล่านี้มาแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อนำหลักการของ Constructionismมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการสอนด้วยวิธี Step by Step เฉพาะพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ จากนั้นให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่เขาสนใจขึ้นมา 1 โปรแกรมโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าจะทำอะไรและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามกันเองได้(โดยการบอกกับผู้เรียนก่อน)
สรุป
หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ
1.ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล
2.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
3.มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ทฤษฎีทางจิตวิทยาของแฮร์บาร์ต
ทฤษฎีทางจิตวิทยาของแฮร์บาร์ต
1.เด็กเกิดมานั้นจิตใจว่างเปล่า ไม่มีอำนาจอะไรติดตัวมาจากธรรมชาติ
2.ความเจริญของจิตเกิดจากการกระทำ (Action) และปฏิกิริยา (Reaction) ของความรู้สึกนึกคิด
3.จิตส่วนที่เกี่ยวกับการหาเหตุผล ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หากไม่ได้รับการดัดแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมแล้ว เราไม่อาจจะ นำไปใช้ในการเรียนวิชาภาษา หรือธรรมชาติได้เลย
ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต
ความมุ่งหมายของการศึกษา ควรเป็นไปเพื่อสังคมมากกว่าเอกชน และควรเป็นไปเพื่อการเตรียมตัวบุคคลให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขในสังคม มิใช่เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับแบบฉบับดั้งเดิม การส่งเสริมสร้างความเจริญตามธรรมชาติของผู้เรียน การรับการถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมแต่ความคิดความอ่าน แต่ควรเป็นไปเพื่อส่งเสริมศีลธรรมจรรยา และประชาคมทั้งหมดด้วย
ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต
1.ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.ความสัมพันธ์กับประชาคม
แฮร์บาร์ต แบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 2 พวก คือ
1.ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และภาษา
2.วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ทฤษฎีด้านจริยศาสตร์ของแฮร์บาร์ต
โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ต้องจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม (Humanistic Studies)
2.ต้องให้การอบรมแก่เด็กให้คุ้นเคยกับความคิดที่ดีงาม
ทฤษฎีและวิธีการสอนของแฮร์บาร์ต
แฮร์บาร์ต ถือว่า ความสนใจ เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการเรียนรู้ และการสอนที่ดี ความสนใจหากเป็นไปเองโดยธรรมชาติก็ย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าจำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้นหรือบังคับสนใจ ก็อาจจะทำได้แต่ผลที่ได้รับจะไม่เป็นที่น่าพึง และเป็นไปได้ไม่นาน การชักจูงให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นโดยไม่ต้องใช้อำนาจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการ บังคับนั้นจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของผู้สอน และเด็กจะต้องรู้สึกสนใจในวิชาที่ครูสอนอย่างจริงจัง จึงจะสามารถนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เก่าได้
“วิธีสอนตามขั้นทั้ง 5 ของแฮร์บาร์ต” (Herbartian Five Formal Steps)
1.ขั้นเตรียม (Preparation)
2.ขั้นสอน (Presentation)
3.ขั้นทบทวน (Association or Comparision)
4.ขั้นสรุป (Formulation or Generalization)
5.ขั้นใช้ (Application)
1.เด็กเกิดมานั้นจิตใจว่างเปล่า ไม่มีอำนาจอะไรติดตัวมาจากธรรมชาติ
2.ความเจริญของจิตเกิดจากการกระทำ (Action) และปฏิกิริยา (Reaction) ของความรู้สึกนึกคิด
3.จิตส่วนที่เกี่ยวกับการหาเหตุผล ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หากไม่ได้รับการดัดแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมแล้ว เราไม่อาจจะ นำไปใช้ในการเรียนวิชาภาษา หรือธรรมชาติได้เลย
ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต
ความมุ่งหมายของการศึกษา ควรเป็นไปเพื่อสังคมมากกว่าเอกชน และควรเป็นไปเพื่อการเตรียมตัวบุคคลให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขในสังคม มิใช่เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับแบบฉบับดั้งเดิม การส่งเสริมสร้างความเจริญตามธรรมชาติของผู้เรียน การรับการถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมแต่ความคิดความอ่าน แต่ควรเป็นไปเพื่อส่งเสริมศีลธรรมจรรยา และประชาคมทั้งหมดด้วย
ทฤษฎีการศึกษาของแฮร์บาร์ต
1.ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.ความสัมพันธ์กับประชาคม
แฮร์บาร์ต แบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 2 พวก คือ
1.ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และภาษา
2.วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ทฤษฎีด้านจริยศาสตร์ของแฮร์บาร์ต
โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ต้องจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม (Humanistic Studies)
2.ต้องให้การอบรมแก่เด็กให้คุ้นเคยกับความคิดที่ดีงาม
ทฤษฎีและวิธีการสอนของแฮร์บาร์ต
แฮร์บาร์ต ถือว่า ความสนใจ เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการเรียนรู้ และการสอนที่ดี ความสนใจหากเป็นไปเองโดยธรรมชาติก็ย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าจำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้นหรือบังคับสนใจ ก็อาจจะทำได้แต่ผลที่ได้รับจะไม่เป็นที่น่าพึง และเป็นไปได้ไม่นาน การชักจูงให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นโดยไม่ต้องใช้อำนาจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการ บังคับนั้นจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของผู้สอน และเด็กจะต้องรู้สึกสนใจในวิชาที่ครูสอนอย่างจริงจัง จึงจะสามารถนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เก่าได้
“วิธีสอนตามขั้นทั้ง 5 ของแฮร์บาร์ต” (Herbartian Five Formal Steps)
1.ขั้นเตรียม (Preparation)
2.ขั้นสอน (Presentation)
3.ขั้นทบทวน (Association or Comparision)
4.ขั้นสรุป (Formulation or Generalization)
5.ขั้นใช้ (Application)
หลักสูตรอุดมศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า
หลักสูตรอุดมศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า
The Curriculum of Thai Higher Education in the Next Fifty Years
ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของสังคมไทยและสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ด้านสังคมประชากร ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และด้านการเมืองการปกครอง เพื่อนำไปใช้คาดการณ์ภาวะการศึกษาไทยอีก 5 ปี ข้างหน้า ผลวิจัยได้พบแนวโน้มอนาคตของหลักสูตรอุดมศึกษาไทย อันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมประชากร เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง ดังนี้
หลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป
จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถในหลายสาขา เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันและอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน จึงหันมาสนใจหลักสูตรการศึกษาที่ให้ความรู้ตั้งแต่สองศาสตร์ขึ้นไป เช่น บัญชีควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ควบคู่กับสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น
เนื่องจากสภาพโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการหลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น และจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศเข้าในไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดในกลุ่มผู้เรียนฐานะดี
หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงาน
หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงานจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานของบุคลากรในองค์กร สถาบันอุดมศึกษาอาจเปิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรภาคค่ำนอกเวลาทำงาน หลักสูตรทางไกลที่เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาหลักสูตรควรมีความหลากหลาย มีความน่าสนใจ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในวัยทำงาน อาทิ หลักสูตรเฉพาะที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคนในวัยแรงงาน เป็นได้ทั้งหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรหลักในสถาบันการศึกษาก็ได้ เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับ Global literacy ได้แก่ ภาษา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสารสนเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ สังคมและวัฒนธรรมในโลก หลักสูตรการคิด ได้แก่ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสังเคราะห์ ฯลฯ หลักสูตรเพิ่มความสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก ได้แก่ หลักสูตรในการสร้างหุ้นส่วน การเจรจาต่อรอง การประสานประโยชน์ เป็นต้น หลักสูตรปริญญา 2 ใบควบกัน เหมาะสำหรับคนวัยทำงานที่ต้องการลงทุนด้านการศึกษาครั้งเดียวแต่ได้คุ้มค่า
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการศึกษาไทยมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้ทันกระแสโลกาภิวัตน์ ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อมในเชิงรุก โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการศึกษา
The Curriculum of Thai Higher Education in the Next Fifty Years
ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของสังคมไทยและสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ด้านสังคมประชากร ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และด้านการเมืองการปกครอง เพื่อนำไปใช้คาดการณ์ภาวะการศึกษาไทยอีก 5 ปี ข้างหน้า ผลวิจัยได้พบแนวโน้มอนาคตของหลักสูตรอุดมศึกษาไทย อันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมประชากร เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง ดังนี้
หลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป
จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถในหลายสาขา เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันและอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน จึงหันมาสนใจหลักสูตรการศึกษาที่ให้ความรู้ตั้งแต่สองศาสตร์ขึ้นไป เช่น บัญชีควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ควบคู่กับสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น
เนื่องจากสภาพโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการหลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น และจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศเข้าในไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดในกลุ่มผู้เรียนฐานะดี
หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงาน
หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงานจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานของบุคลากรในองค์กร สถาบันอุดมศึกษาอาจเปิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรภาคค่ำนอกเวลาทำงาน หลักสูตรทางไกลที่เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาหลักสูตรควรมีความหลากหลาย มีความน่าสนใจ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในวัยทำงาน อาทิ หลักสูตรเฉพาะที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคนในวัยแรงงาน เป็นได้ทั้งหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรหลักในสถาบันการศึกษาก็ได้ เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับ Global literacy ได้แก่ ภาษา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสารสนเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ สังคมและวัฒนธรรมในโลก หลักสูตรการคิด ได้แก่ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสังเคราะห์ ฯลฯ หลักสูตรเพิ่มความสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก ได้แก่ หลักสูตรในการสร้างหุ้นส่วน การเจรจาต่อรอง การประสานประโยชน์ เป็นต้น หลักสูตรปริญญา 2 ใบควบกัน เหมาะสำหรับคนวัยทำงานที่ต้องการลงทุนด้านการศึกษาครั้งเดียวแต่ได้คุ้มค่า
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการศึกษาไทยมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้ทันกระแสโลกาภิวัตน์ ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อมในเชิงรุก โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการศึกษา
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551
การพัฒนาทักษะทางการคิด
การพัฒนาทักษะทางการคิด
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ “การคิด” จากต่างประเทศ
มีนักคิด นักจิตวิทยา และนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวนมากที่ได้ศึกษา เกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ ในเรื่องนี้มีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี 2540)
เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
บลูม (Bloom, 1961) ได้จำแนกการรู้ (Cognition) ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ การรู้ขั้นความรู้ การรู้ขั้นเข้าใจ การรู้ขั้นวิเคราะห์ การรู้ขั้นสังเคราะห์ และการรู้ขั้นประเมิน
ทอแรนซ์ (Torrance, 1962) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบไปด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality)
ออซูเบล (Ausubel,1964) ได้อธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ(Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคล
บรูเนอร์ (Bruner, 1965) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจ หรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจึงถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
กาเย่ (Gagne, 1965) ได้อธิบายว่าผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท ได้แก่
1)ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนก
แยกแยะ การสร้างความคิดรวมยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง
2)กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำ
ความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด
3)ภาษา (Verbal Information)
4)ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
5)เจตคติ (Attitude)
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) ได้อธิบายว่าความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วยมิติ 3 มิติ คือ
1)ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึง วัตถุ/ข้อมูลที่ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อาจเป็นภาพ เสียง สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม
2)มิติด้านปฏิบัติการ (Operations) หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่การรับรู้และเข้าใจ (Cognition) การจำ การคิดแบบเอนกนัย การคิดแบบเอกนัย และการประเมินค่า
3)มิติด้านผลผลิต (Products) หมายถึง ผลของการคิด ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นหน่วย (Unit) เป็นกลุ่มหรือพวกของสิ่งต่าง ๆ (Classes)เป็นความสัมพันธ์ (Relation) เป็นระบบ (System) เป็นการแปลงรูป (Transformation) และการประยุกต์ (Implication) ความสามารถทางการคิดของบุคคล เป็นผลจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
ลิปแมน และคณะ (Lipman, 1981) ได้นำเสนอแนวคิดในการสอนคิดผ่านทางการปรัชญา (Teaching Philosophy) โดยมีความเชื่อว่า ความคิดเชิงปรัชญาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากันเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางการคิด ปรัชญาเป็นวิชาที่จะช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนการคิด
คลอสไมเออร์ (Klausmier, 1985) ได้อธิบายกระบวนการคิดโดยใช้ทฤษฎี การประมวลผลข้อมูล (Information Processing) ว่า การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการนำข้อมูลเข้าไป (Input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (Processor) แล้วจึงส่งผลออกมา (Output) กระบวนการคิดของมนุษย์มีการรับข้อมูล มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการเกิดขึ้นในสมองไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถศึกษาได้จากการอ้างอิง หรือการคาดคะเนกระบวนการนั้น
สเติร์นเบอร์ก (Sternberg, 1985) ได้เสนอทฤษฎีสามศร (Triarchich Theory) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 3 ส่วน คือ ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบทางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล และทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อ ความสามารถทางปัญญารวมทั้งทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Subtheory) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดปรัชญาการสร้างความรู้ (Constructivism) อธิบายว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคล บุคลเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure)
การ์ดเนอร์ (Gardner ,1993) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ซึ่งแต่เดิม ทฤษฎีทางสติปัญญามักกล่าวถึงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้าน แต่การ์ดเนอร์เสนอไว้ถึง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านการเข้าใจในธรรมชาติ
แนวทางการพัฒนาการคิด จากต่างประเทศ
ได้มีผู้เสนอแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาการคิดไว้จำนวนไม่น้อย อาทิเช่น
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward De Bono, 1973) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการคิดไว้จำนวนมาก เช่น การพัฒนาการคิดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การใช้เทคนิคหมวก 6 ใบเป็นต้น
ศูนย์พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Center for Critical Thinking, Sonoma State University, 1996)ได้พัฒนาคู่มือการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับ การสอนในโรงเรียนทุกระดับ และยังได้ผลิตสื่อประเภทเทปเสียงการบรรยาย และวีดีทัศน์ ขึ้นเป็นจำนวนมากมีนักศึกษาจำนวนหลายท่าน ได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการการคิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น จอยส์และเวลส์ (Joyce and Weil, 1980) เอนนิส (Ennis)และ วิลเลี่ยม (Williams)เป็นต้น
หลักการ และแนวคิดของไทย
พระธรรมปิฏก (2539) ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาและการสอน ตามหลักพุทธธรรม ซึ่งคลอบคลุมในเรื่องการพัฒนาปัญญา และการคิดไว้จำนวนมาก และได้มี นักการศึกษาไทยนำแนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบ กระบวนการ และเทคนิคใน การสอน ทำให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้นหลักการและแนวคิด ตามพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษาและการสอนในพระธรรมปิฏกได้แผยแพร่ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางการคิดของมนุษย์มีดังนี้ คือ
1)ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2)การรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คือการรู้จักคิดเป็น พูดเป็น และทำเป็น
3)การคิดเป็นหรือการคิดอย่างถูกต้องเป็นศูนย์กลางที่บริหารการดำเนินชีวิต ทั้งหมด ทำหน้าที่ชี้นำและควบคุมการกระทำ การการคิดจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อมนุษย์ได้รับ ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอยู่มาก หากคิดเป็นหรือคิดดีก็จะเกิดการเลือกรับเป็นหรือเลือกรับแต่ สิ่งที่ดีๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะเกิดการคิดตีความเชื่อมโยงและตอบสนองออกมาเป็นการกระทำ ในขั้นตอนนี้มีสิ่งปรุงแต่งความคิดเข้ามา ได้แก่อารมณ์ชอบ ชัง คติ และอคติต่างๆ ซึ่งมีผลต่อ การคิดตีความและการเชื่อมโยงการกระทำ ถ้าคิดเป็นโดยรู้ถึงสิ่งปรุงแต่งต่าง ๆ นั้นก็จะสามารถบริหารการกระทำอย่างเหมาะสมได้
4)กระบวนการคิด เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้โดยกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาหรือ สิกขา การพัฒนานั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ผลที่ได้คือมรรคหรือการกระทำที่ดีงาม
5)แก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาปัญญาของตนเองให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือการมีความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม เกื้อกูลต่อชีวิต และครอบครัว
6)สัมมาทิฐิ ทำให้เกิดการพูด และ การกระทำที่ดีงาม สามารถดับทุกข์ และ แก้ปัญหาได้
7)ปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นสัมมาทิฏฐิ ได้มี 2 ประการ
7.1.ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า ปรโตโฆสะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ครู พ่อแม่ เพื่อน สื่อมวลชน ฯลฯ
7.2.ปัจจัยภายใน หรือเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิดเป็น
8)การศึกษาทั้งหลายที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทำการอย่างเป็นระบบระเบียบ ถือว่เป็นปรโตโฆสะทั้งสิ้น
9)บุคลส่วนใหญ่ในโลกจะสามารถพัฒนาตนเองให้ใช้โยนิโสมนสิการอย่างเดียวไม่ได้จำต้องอาศัยปรโตโฆสะทั้งสิ้น
10)โยนิโสมนสิการเรียกได้ว่าคือการคิดเป็น เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะโดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นต้นเหตุตลอดทางจนถึง ผลสุดท้ายที่เกิดแยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คือความสัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุโดยไม่เอาความรู้สึกอุปทานของตนเข้าไปจับหรือเคลือบคลุมบุคลนั้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการแห่งปัญญา
11)โยนิโสมนสิการเป็น องค์ประกอบภายในมีความเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้ ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดอย่างวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นตอนสำคัญของการสร้างปัญญา ทำให้บริสุทธิ์และเป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตัวเองได้ นำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมด้วยสันติสุขเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา
12)โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญาแต่เป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญญา มีเป้าหมายสูงสุด คือ การดับทุกข์
13)โยนิโสมนสิการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
13.1 อุบายมนสิการ คือ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง
13.2 ปถมนสิกา คือ การคิดอย่างมีลำดับขั้น
13.3 การณมนสิการ คือ การคิดอย่ามีเหตุผล
13.4 อุปปทากมนสิการคือการคิดอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผลไม่ใช่คิดไปเรื่อยเปื่อย
14)ในการดำเนินชีวิต สติเป็นองค์ธรรมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานทุกอย่าง โยนิโสมนสิการเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสติที่ยังไม่เกิดไห้ได้เกิด ช่วยให้สติที่เกิดแล้ว เกิดต่อเนื่องต่อไป
15)กลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการในกระบวนการคิด เมื่อบุคลรับรู้สิ่งใด ความคิดก็จะพุ่งเข้าสู่ความชอบหรือไม่ชอบทันที นั่นคือสิ่งปรุงแต่ง เนื่องจากบุคลมีประสบการณ์มาก่อน เรียกสิ่งปรุงแต่งนั้นว่าอวิชชา ในตอนนี้เองที่โยนิโสมนสิการจเข้าไปสกัดความคิดแล้วเป็นตัวนำเอากระบวนการคิดบริสุทธิ์ที่จะพิจารณาตามสภาวะตามเหตุปัจจัย เป็นลำดับไม่สับสน มีเหตุผลและเกิดผลได้(ตามองค์ประกอบทั้งสี่ข้อในข้อ 13) ทำให้คนเป็นนายไม่ใช่ทาสของความคิด เอาความคิดมาใช้แก้ปัญหาได้
16)คนปกติสามารถใช้โยนิโสมนสิการง่าย ๆ ได้โดยการพยายามควบคุมกระแสความคิดให้
อยู่ในแนวทางที่ดีงานตามทางที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณาเห็นความจริง และรู้ว่าคำแนะนำสั่งสอนนั้นถูกต้องดีงาม มีประโยชน์ ก็ยิ่งมั่นใจและเกิดศรัทธาขึ้นเองเกิดเป็นการประสานกันระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน กลายเป็นความหมายของตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ดังนั้นในการสร้างศรัทธาจะต้องพยายามให้นักเรียนได้รับรู้ผลและเกิดความตระหนักในผลของการกระทำความดี ต้องเร้าให้เกิดการเสริมแรงภายใน
17)กล่าวโดยสรุปกลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการ และความสัมพันธ์ระหว่าง ปรโตโฆ
สะกับโยนิโสมนสิการ มีดังนี้
17.1 โยนิโสมนสิการจะทำงาน 2 ขั้นตอนคือ รับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์จากภายนอกการรับรู้ด้ายโยนิโสมนสิการจะเป็นการรับรู้อย่างถูกต้อง มีการคิดค้นพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาเป็นการพิจารณาข้อมูลด้วยสติซึ่งจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป
17.2 กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) และ โยนิโสมนสิการ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างบุคคลกับโลกหรือสภาพแวดล้อมภายนอก โดยกัลยาณมิตรเชื่อมให้กับบุคคลติดต่อกับโลกทางสังคมอย่างถูกต้องและโยนิโสมนสิการเชื่อมต่อบุคคลกับโลกทางจิตใจของตนเองอย่างถูกต้อง
18)วิธีคิดตามหลักโยนิโสมสิการมี 10 วิธี คือ
18.1 วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้สภาวะที่เป็นจริง
18.2 วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เป็นวิธีคิดเพื่อกำหนดแยกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและสิ่งที่เป็นนามธรรม
18.3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้เท่าทัน คือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเองและจะดับไปเอง เรียกว่า รู้อนิจจัง และรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเองไม่มีใครบังคับหรือกำหนดขึ้น เรียกว่า รู้อนัตตา
18.4 วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ เป็นวิธีคิดแบบแก้ปัญหา โดยเริ่มจากตัวปัญหา หรือ ทุกข์ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน สืบค้นสาเหตุ เตรียมแก้ไข วางแผนกำจัดสาเหตุของปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ
18.4.1 ทุกข์ - การกำหนดให้รู้สภาพปัญหา
18.4.2 สมุทัย- การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัด
18.4.3 นิโรธ - การดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร
18.4.4 มรรค - การกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา
18.5 วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นวิธีคิดให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย สามารถตอบคำถามได้ว่าที่ทำหรือจะทำอย่างนั้น อย่างนี้เพื่ออะไร ทำให้การกระทำมีขอบเขต ไม่เลยเถิด
18.6 วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดบนพื้นฐานความตระหนักที่ว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนด้อย ดังนั้นเมื่อต้องคิดตัดสินใจเลือกเอาของสิ่งในเพียงอย่างเดียวจะต้องยอมรับส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกไว้ และ ไม่มองข้ามโทษหรือข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดเสียของสิ่งที่เลือกไว้ การคิดและมองตามความจริงนี้ ทำให้ไม่ประมาท อาจนำเอา ส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกนั้นมาใช้ประโยชน์ได้และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย บกพร่องที่ติดมากับสิ่งที่เลือกไว้
18.7 วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดที่สามารถแยกแยะได้ว่าคุณค่าแท้คืออะไร คุณค่าเทียมคืออะไรคือคุณค่าแท้ คือ คุณค่าของสิ่งมีประโยชน์แก่ร่างกายโดยตรง อาศัยปัญญาตีราคา เป็นคุณค่าสนองปัญญาคุณค่าเทียม คือ คุณค่าพอกเสริมสิ่งจำเป็นโดยตรง อาศัยตัณหาตีราคา เป็นคุณค่าสนองตัณหาวิธีคิดนี้ใช้เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต เพื่อพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ เป็นการเกี่ยวข้องด้วยปัญญา มีขอบเขต เหมาะสม
18.8 วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม เป็นการคิดถึงแต่สิ่งที่ดีมีกุศล เมื่อได้รับประสบการณ์แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีงาม เป็นวิธีคิดที่สกัดกั้น ขัดเกลาตัณหา
18.9 วิธีคิดแบบเป็นอยู่กับปัจจุบัน เป็นวิธีคิดให้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ประจำวันเชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กิจการตามหน้าที่หรือการปฏิบัติ โดยมีจุดหมายไม่เพ้อฝันกับอารมณ์ชอบหรือชัง
18.10วิธีคิดแบบวิภัชวาท เป็นการคิดแบบให้เห็นความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้าน ไม่พิจารณาสิ่งใด ๆ เพียงด้านหรือแง่มุมเดียว
แนวทาง รูปแบบ กระบวนการ วิธีการ เทคนิคการสอนและการพัฒนากระบวน การคิดของไทย
ในระยะประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ได้มีนักคิดและนักการศึกษาที่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาการคิดตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลัง ๆ ได้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสอน และศึกษาวิจัยกันมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ จึงทำให้ประเทศไทยได้รูปแบบการสอน กระบวนการสอบและเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาก อาทิเช่น การสอนให้ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ” โดย สุมน อมรวิวัฒน์ “การสอนความคิด” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนทักษะกระบวนการ” โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และ “กระบวนการคิดเป็นเพื่อการคำรงชีวิตในสังคมไทย” โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
กรอบความคิดของ “การคิด”
จากการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการคิด พบว่า มีคำที่แสดงถึงลักษณะของการคิดและคำที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น
การสังเกต คิดผิด-คิดถูก กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การเปรียบเทียบ คิดสั้น-คิดยาว/คิดไกล กระบวนการคิดแก้ปัญหา
การตั้งคำถาม คิดแคบ-คิดกว้าง กระบวนการคิดริเริ่มส
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ “การคิด” จากต่างประเทศ
มีนักคิด นักจิตวิทยา และนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวนมากที่ได้ศึกษา เกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ ในเรื่องนี้มีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี 2540)
เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
บลูม (Bloom, 1961) ได้จำแนกการรู้ (Cognition) ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ การรู้ขั้นความรู้ การรู้ขั้นเข้าใจ การรู้ขั้นวิเคราะห์ การรู้ขั้นสังเคราะห์ และการรู้ขั้นประเมิน
ทอแรนซ์ (Torrance, 1962) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบไปด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality)
ออซูเบล (Ausubel,1964) ได้อธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ(Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคล
บรูเนอร์ (Bruner, 1965) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจ หรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจึงถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
กาเย่ (Gagne, 1965) ได้อธิบายว่าผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท ได้แก่
1)ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนก
แยกแยะ การสร้างความคิดรวมยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง
2)กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำ
ความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด
3)ภาษา (Verbal Information)
4)ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
5)เจตคติ (Attitude)
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) ได้อธิบายว่าความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วยมิติ 3 มิติ คือ
1)ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึง วัตถุ/ข้อมูลที่ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อาจเป็นภาพ เสียง สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม
2)มิติด้านปฏิบัติการ (Operations) หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่การรับรู้และเข้าใจ (Cognition) การจำ การคิดแบบเอนกนัย การคิดแบบเอกนัย และการประเมินค่า
3)มิติด้านผลผลิต (Products) หมายถึง ผลของการคิด ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นหน่วย (Unit) เป็นกลุ่มหรือพวกของสิ่งต่าง ๆ (Classes)เป็นความสัมพันธ์ (Relation) เป็นระบบ (System) เป็นการแปลงรูป (Transformation) และการประยุกต์ (Implication) ความสามารถทางการคิดของบุคคล เป็นผลจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
ลิปแมน และคณะ (Lipman, 1981) ได้นำเสนอแนวคิดในการสอนคิดผ่านทางการปรัชญา (Teaching Philosophy) โดยมีความเชื่อว่า ความคิดเชิงปรัชญาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากันเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางการคิด ปรัชญาเป็นวิชาที่จะช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนการคิด
คลอสไมเออร์ (Klausmier, 1985) ได้อธิบายกระบวนการคิดโดยใช้ทฤษฎี การประมวลผลข้อมูล (Information Processing) ว่า การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการนำข้อมูลเข้าไป (Input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (Processor) แล้วจึงส่งผลออกมา (Output) กระบวนการคิดของมนุษย์มีการรับข้อมูล มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการเกิดขึ้นในสมองไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถศึกษาได้จากการอ้างอิง หรือการคาดคะเนกระบวนการนั้น
สเติร์นเบอร์ก (Sternberg, 1985) ได้เสนอทฤษฎีสามศร (Triarchich Theory) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 3 ส่วน คือ ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบทางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล และทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อ ความสามารถทางปัญญารวมทั้งทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Subtheory) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดปรัชญาการสร้างความรู้ (Constructivism) อธิบายว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคล บุคลเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure)
การ์ดเนอร์ (Gardner ,1993) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ซึ่งแต่เดิม ทฤษฎีทางสติปัญญามักกล่าวถึงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้าน แต่การ์ดเนอร์เสนอไว้ถึง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านการเข้าใจในธรรมชาติ
แนวทางการพัฒนาการคิด จากต่างประเทศ
ได้มีผู้เสนอแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาการคิดไว้จำนวนไม่น้อย อาทิเช่น
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward De Bono, 1973) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการคิดไว้จำนวนมาก เช่น การพัฒนาการคิดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การใช้เทคนิคหมวก 6 ใบเป็นต้น
ศูนย์พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Center for Critical Thinking, Sonoma State University, 1996)ได้พัฒนาคู่มือการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับ การสอนในโรงเรียนทุกระดับ และยังได้ผลิตสื่อประเภทเทปเสียงการบรรยาย และวีดีทัศน์ ขึ้นเป็นจำนวนมากมีนักศึกษาจำนวนหลายท่าน ได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการการคิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น จอยส์และเวลส์ (Joyce and Weil, 1980) เอนนิส (Ennis)และ วิลเลี่ยม (Williams)เป็นต้น
หลักการ และแนวคิดของไทย
พระธรรมปิฏก (2539) ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาและการสอน ตามหลักพุทธธรรม ซึ่งคลอบคลุมในเรื่องการพัฒนาปัญญา และการคิดไว้จำนวนมาก และได้มี นักการศึกษาไทยนำแนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบ กระบวนการ และเทคนิคใน การสอน ทำให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้นหลักการและแนวคิด ตามพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษาและการสอนในพระธรรมปิฏกได้แผยแพร่ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางการคิดของมนุษย์มีดังนี้ คือ
1)ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2)การรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คือการรู้จักคิดเป็น พูดเป็น และทำเป็น
3)การคิดเป็นหรือการคิดอย่างถูกต้องเป็นศูนย์กลางที่บริหารการดำเนินชีวิต ทั้งหมด ทำหน้าที่ชี้นำและควบคุมการกระทำ การการคิดจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อมนุษย์ได้รับ ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอยู่มาก หากคิดเป็นหรือคิดดีก็จะเกิดการเลือกรับเป็นหรือเลือกรับแต่ สิ่งที่ดีๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะเกิดการคิดตีความเชื่อมโยงและตอบสนองออกมาเป็นการกระทำ ในขั้นตอนนี้มีสิ่งปรุงแต่งความคิดเข้ามา ได้แก่อารมณ์ชอบ ชัง คติ และอคติต่างๆ ซึ่งมีผลต่อ การคิดตีความและการเชื่อมโยงการกระทำ ถ้าคิดเป็นโดยรู้ถึงสิ่งปรุงแต่งต่าง ๆ นั้นก็จะสามารถบริหารการกระทำอย่างเหมาะสมได้
4)กระบวนการคิด เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้โดยกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาหรือ สิกขา การพัฒนานั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ผลที่ได้คือมรรคหรือการกระทำที่ดีงาม
5)แก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาปัญญาของตนเองให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือการมีความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม เกื้อกูลต่อชีวิต และครอบครัว
6)สัมมาทิฐิ ทำให้เกิดการพูด และ การกระทำที่ดีงาม สามารถดับทุกข์ และ แก้ปัญหาได้
7)ปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นสัมมาทิฏฐิ ได้มี 2 ประการ
7.1.ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า ปรโตโฆสะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ครู พ่อแม่ เพื่อน สื่อมวลชน ฯลฯ
7.2.ปัจจัยภายใน หรือเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิดเป็น
8)การศึกษาทั้งหลายที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทำการอย่างเป็นระบบระเบียบ ถือว่เป็นปรโตโฆสะทั้งสิ้น
9)บุคลส่วนใหญ่ในโลกจะสามารถพัฒนาตนเองให้ใช้โยนิโสมนสิการอย่างเดียวไม่ได้จำต้องอาศัยปรโตโฆสะทั้งสิ้น
10)โยนิโสมนสิการเรียกได้ว่าคือการคิดเป็น เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะโดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นต้นเหตุตลอดทางจนถึง ผลสุดท้ายที่เกิดแยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คือความสัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุโดยไม่เอาความรู้สึกอุปทานของตนเข้าไปจับหรือเคลือบคลุมบุคลนั้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการแห่งปัญญา
11)โยนิโสมนสิการเป็น องค์ประกอบภายในมีความเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้ ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดอย่างวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นตอนสำคัญของการสร้างปัญญา ทำให้บริสุทธิ์และเป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตัวเองได้ นำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมด้วยสันติสุขเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา
12)โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญาแต่เป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญญา มีเป้าหมายสูงสุด คือ การดับทุกข์
13)โยนิโสมนสิการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
13.1 อุบายมนสิการ คือ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง
13.2 ปถมนสิกา คือ การคิดอย่างมีลำดับขั้น
13.3 การณมนสิการ คือ การคิดอย่ามีเหตุผล
13.4 อุปปทากมนสิการคือการคิดอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผลไม่ใช่คิดไปเรื่อยเปื่อย
14)ในการดำเนินชีวิต สติเป็นองค์ธรรมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานทุกอย่าง โยนิโสมนสิการเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสติที่ยังไม่เกิดไห้ได้เกิด ช่วยให้สติที่เกิดแล้ว เกิดต่อเนื่องต่อไป
15)กลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการในกระบวนการคิด เมื่อบุคลรับรู้สิ่งใด ความคิดก็จะพุ่งเข้าสู่ความชอบหรือไม่ชอบทันที นั่นคือสิ่งปรุงแต่ง เนื่องจากบุคลมีประสบการณ์มาก่อน เรียกสิ่งปรุงแต่งนั้นว่าอวิชชา ในตอนนี้เองที่โยนิโสมนสิการจเข้าไปสกัดความคิดแล้วเป็นตัวนำเอากระบวนการคิดบริสุทธิ์ที่จะพิจารณาตามสภาวะตามเหตุปัจจัย เป็นลำดับไม่สับสน มีเหตุผลและเกิดผลได้(ตามองค์ประกอบทั้งสี่ข้อในข้อ 13) ทำให้คนเป็นนายไม่ใช่ทาสของความคิด เอาความคิดมาใช้แก้ปัญหาได้
16)คนปกติสามารถใช้โยนิโสมนสิการง่าย ๆ ได้โดยการพยายามควบคุมกระแสความคิดให้
อยู่ในแนวทางที่ดีงานตามทางที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณาเห็นความจริง และรู้ว่าคำแนะนำสั่งสอนนั้นถูกต้องดีงาม มีประโยชน์ ก็ยิ่งมั่นใจและเกิดศรัทธาขึ้นเองเกิดเป็นการประสานกันระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน กลายเป็นความหมายของตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ดังนั้นในการสร้างศรัทธาจะต้องพยายามให้นักเรียนได้รับรู้ผลและเกิดความตระหนักในผลของการกระทำความดี ต้องเร้าให้เกิดการเสริมแรงภายใน
17)กล่าวโดยสรุปกลไกการทำงานของโยนิโสมนสิการ และความสัมพันธ์ระหว่าง ปรโตโฆ
สะกับโยนิโสมนสิการ มีดังนี้
17.1 โยนิโสมนสิการจะทำงาน 2 ขั้นตอนคือ รับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์จากภายนอกการรับรู้ด้ายโยนิโสมนสิการจะเป็นการรับรู้อย่างถูกต้อง มีการคิดค้นพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาเป็นการพิจารณาข้อมูลด้วยสติซึ่งจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป
17.2 กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) และ โยนิโสมนสิการ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างบุคคลกับโลกหรือสภาพแวดล้อมภายนอก โดยกัลยาณมิตรเชื่อมให้กับบุคคลติดต่อกับโลกทางสังคมอย่างถูกต้องและโยนิโสมนสิการเชื่อมต่อบุคคลกับโลกทางจิตใจของตนเองอย่างถูกต้อง
18)วิธีคิดตามหลักโยนิโสมสิการมี 10 วิธี คือ
18.1 วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้สภาวะที่เป็นจริง
18.2 วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เป็นวิธีคิดเพื่อกำหนดแยกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและสิ่งที่เป็นนามธรรม
18.3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้เท่าทัน คือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเองและจะดับไปเอง เรียกว่า รู้อนิจจัง และรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเองไม่มีใครบังคับหรือกำหนดขึ้น เรียกว่า รู้อนัตตา
18.4 วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ เป็นวิธีคิดแบบแก้ปัญหา โดยเริ่มจากตัวปัญหา หรือ ทุกข์ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน สืบค้นสาเหตุ เตรียมแก้ไข วางแผนกำจัดสาเหตุของปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ
18.4.1 ทุกข์ - การกำหนดให้รู้สภาพปัญหา
18.4.2 สมุทัย- การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัด
18.4.3 นิโรธ - การดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร
18.4.4 มรรค - การกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา
18.5 วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นวิธีคิดให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย สามารถตอบคำถามได้ว่าที่ทำหรือจะทำอย่างนั้น อย่างนี้เพื่ออะไร ทำให้การกระทำมีขอบเขต ไม่เลยเถิด
18.6 วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดบนพื้นฐานความตระหนักที่ว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนด้อย ดังนั้นเมื่อต้องคิดตัดสินใจเลือกเอาของสิ่งในเพียงอย่างเดียวจะต้องยอมรับส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกไว้ และ ไม่มองข้ามโทษหรือข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดเสียของสิ่งที่เลือกไว้ การคิดและมองตามความจริงนี้ ทำให้ไม่ประมาท อาจนำเอา ส่วนดีของสิ่งที่ไม่ได้เลือกนั้นมาใช้ประโยชน์ได้และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย บกพร่องที่ติดมากับสิ่งที่เลือกไว้
18.7 วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดที่สามารถแยกแยะได้ว่าคุณค่าแท้คืออะไร คุณค่าเทียมคืออะไรคือคุณค่าแท้ คือ คุณค่าของสิ่งมีประโยชน์แก่ร่างกายโดยตรง อาศัยปัญญาตีราคา เป็นคุณค่าสนองปัญญาคุณค่าเทียม คือ คุณค่าพอกเสริมสิ่งจำเป็นโดยตรง อาศัยตัณหาตีราคา เป็นคุณค่าสนองตัณหาวิธีคิดนี้ใช้เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต เพื่อพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ เป็นการเกี่ยวข้องด้วยปัญญา มีขอบเขต เหมาะสม
18.8 วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม เป็นการคิดถึงแต่สิ่งที่ดีมีกุศล เมื่อได้รับประสบการณ์แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีงาม เป็นวิธีคิดที่สกัดกั้น ขัดเกลาตัณหา
18.9 วิธีคิดแบบเป็นอยู่กับปัจจุบัน เป็นวิธีคิดให้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ประจำวันเชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กิจการตามหน้าที่หรือการปฏิบัติ โดยมีจุดหมายไม่เพ้อฝันกับอารมณ์ชอบหรือชัง
18.10วิธีคิดแบบวิภัชวาท เป็นการคิดแบบให้เห็นความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้าน ไม่พิจารณาสิ่งใด ๆ เพียงด้านหรือแง่มุมเดียว
แนวทาง รูปแบบ กระบวนการ วิธีการ เทคนิคการสอนและการพัฒนากระบวน การคิดของไทย
ในระยะประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ได้มีนักคิดและนักการศึกษาที่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาการคิดตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลัง ๆ ได้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสอน และศึกษาวิจัยกันมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ จึงทำให้ประเทศไทยได้รูปแบบการสอน กระบวนการสอบและเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาก อาทิเช่น การสอนให้ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ” โดย สุมน อมรวิวัฒน์ “การสอนความคิด” โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ “การสอนทักษะกระบวนการ” โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และ “กระบวนการคิดเป็นเพื่อการคำรงชีวิตในสังคมไทย” โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
กรอบความคิดของ “การคิด”
จากการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการคิด พบว่า มีคำที่แสดงถึงลักษณะของการคิดและคำที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น
การสังเกต คิดผิด-คิดถูก กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การเปรียบเทียบ คิดสั้น-คิดยาว/คิดไกล กระบวนการคิดแก้ปัญหา
การตั้งคำถาม คิดแคบ-คิดกว้าง กระบวนการคิดริเริ่มส
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551
ข้อสอบปลายภาคการพัฒนาหลักสูตรและการสอน 1/2551
ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 509711 การพัฒนาหลักสูตรและการสอน
1.ถ้าท่านเป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งและต้องทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทุกรายวิชา ท่านคิดว่าจะทำการจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่เหมาะสมที่สุด ?
ตอบ = ข้าพเจ้าใช้แนวคิดทฤษฎีตามรูปแบบทฤษฎีบูรณาการ เป็นทฤษฎีที่พยายามบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆเข้ามาอย่างรอบด้าน แต่ไม่ใช่การนำองค์ความรู้ต่างๆมากองรวมกัน หรือทึกทักเหมารวมเอาไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ นักปรัชญาคนสำคัญที่สนใจพัฒนาทฤษฎีบูรณาการได้แก่ เคน วิลเบอร์, ออโรบินโด (Aurobindo), จีน เกบเซอร์ (Jean Gebser) ดอน เบ็ค (Don Beck) และอีกหลายคน ที่ตอนนี้อยู่ที่สถาบันบูรณาการ (Integral Institute)
แนวคิด
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด แระสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความรู้
ความเข้าใจลักษณะองค์รวม
รูปแบบการบูรณาการ
1. การบูรณาการภายในวิชา เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน
2. บูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม มีการวางแผน ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1.กำหนดเรื่องที่จะสอน โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำมากำหนดเป็นเรื่องหรือปัญหาหรือความคิดรวบยอดในการสอน
2.กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน สำหรับหัวเรื่องนั้น ๆ เพื่อการวัดและประเมินผล
3.กำหนดเนื้อหาย่อย เป็นการกำหนดเนื้อหาหรือหัวเรื่องย่อย ๆ สำหรับการเรียนการสอนให้สนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
4.วางแผนการสอน เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเขียนแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับแผนการสอนทั่วไป คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การ
วัดและประเมินผล
5.ปฏิบัติการสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ความสอดคล้องสัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ ฯลฯ โดยมีการบันทึกจุดเด่น จุดด้อย ไว้สำหรับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
6.การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน เป็นการนำผลที่ได้บันทึก รวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอน มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------------------------------------------
2.ถ้าท่านเป็นครูในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ท่านคิดว่าลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรักชาติ ความเสียสละ มีคุณธรรม และมีความเป็นชาติไทยควรมีลักษณะเป็นอย่างไร?
ตอบ = แผนพัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามแนวคิดของข้าพเจ้า "การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ" เป็นความหวังอย่างยิ่งของผู้นำรัฐบาล เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนใน 3 จังหวัดได้อยู่กันอย่างสงบสุขและมั่นคงในการดำรงชีวิต และได้การจัดการศึกษาในจังหวัดภาคใต้ ต้องยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต ความหลากหลายทางและวัฒนธรรม ตลอดจนความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะบนพื้นฐานของหลักศาสนา ที่เชื่อมโยงหลักการทางศาสนาเข้ากับวิชาสามัญและวิชาชีพ โดยยึดผู้เรียนและประชาชนเป็นศูนย์กลาง และในการบริหารจัดการศึกษาจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ "เพื่อพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยปรับหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในระดับการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาไทย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และภาษาสำคัญอื่นๆ เช่น มลายูกลาง จีน และอังกฤษ เป็นต้น และเร่งการใช้หลักสูตรบูรณาการและเทียบโอนการเรียนศาสนาและวิชาสามัญทุกรูปแบบ ดำเนินการเทียบวุฒิทางการศึกษาแก่ผู้ที่ยังตกค้างและต้องการเทียบโอน เพื่อสามารถนำไปศึกษาต่อหรือเป็นหลักฐานในการทำงานต่อไปได้
การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ เร่งพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในอดีตให้เป็นที่ยอมรับ โดยในปีงบประมาณ 2549 นี้ มีโรงเรียนที่อยู่ในแผน 11 แห่ง ขณะเดียวกัน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ใน 3 จังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 3
การพัฒนาสถานศึกษาเอกชน โดยเฉพาะการพัฒนาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ เปิดโอกาสให้สอนหลักสูตรอิสลามศึกษา ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาตรา 15(1) พัฒนากรรมการมูลนิธิ กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู เพิ่มคุณภาพนักเรียน และสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ถูกต้อง ส่งเสริมให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน สอนวิชาสามัญและวิชาชีพในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาตรา 15(2) โดยเพิ่มระบบการนิเทศโรงเรียนเอกชนอย่างใกล้ชิด
การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน ด้วยการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้กับผู้ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และร่วมกับหน่วยงานภาคีตลอดจนเครือข่ายเพื่อยกระดับการศึกษาให้กับกำลังแรงงาน สำหรับในการจัดการสอนวิชาสามัญและวิชาชีพในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 15(2) และสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยความร่วมมือกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นอกจากนี้ จัดเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้กับประชาชนเพื่อจบการศึกษาและศึกษาต่อ รวมไปถึงจัดการสอนภาษามลายูท้องถิ่นให้กับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
การพัฒนาอุดมศึกษา ด้วยการยกระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีให้เป็นเอกเทศ พัฒนาวิทยาลัยอิสลามเป็นสถาบันนานาชาติ พัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเร่งเปิดสอนคณะอิสลามศึกษา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัล-ฮัสอัร พร้อมทั้งขยายเป้าหมายการรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้มีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ และการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา
การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยการเพิ่มโควต้าอีก 1% ให้กับข้าราชการในพื้นที่ และเพิ่มมาตรการดูความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มากขึ้น
การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาให้เป็นเอกภาพ เพิ่มความเข้มแข็งให้กับศูนย์บริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดูแลโรงเรียนเอกชนทุกประเภท
ภายหลังการพิจารณาแผนการศึกษาดังกล่าวแล้ว พลตำรวจเอก ชิดชัยเปิดเผยว่า "เป็นการบ้านที่รับมาจากท่านนายกฯ นอกจากทำการศึกษาให้เป็นเลิศแล้ว ก็ให้มีความเป็นไทย เราต้องทำโรงเรียนของรัฐให้เป็นที่หล่อหลอมของคนทุกคนทุกศาสนาใน 3 จังหวัด ทั้งเด็กเล็ก ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นสิ่งที่ท่านนายกฯก็เร่งรัดอยากให้กระทรวงศึกษาฯจัดทำเป็นอย่างยิ่ง และกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการศึกษาเฉพาะเรื่องนี้ขึ้นมา ในที่ประชุมให้ข้อเสนอว่า การศึกษาต้องบูรณาการกันระหว่างการศึกษากับฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะดูแลยุทธศาสตร์ในภาพรวม เป็นเรื่องการจัดการในพื้นที่ ผมมาให้ความเห็นเพิ่มเติมอยากให้ดูแลเรื่องคนในพื้นที่ที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศให้มองในภาพรวม พอเขากลับมาจะได้เป็นพลังในการพัฒนาพื้นที่ ให้ ศธ.ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ"
แม้ว่าการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่จะให้เห็นหน้าเห็นหลังต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี แต่งานนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. และ ดร.รุ่งคงต้องเข้าเกียร์เดินหน้าเต็มที่ ในการ "ติดอาวุธทางปัญญา" ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อวางรากฐานโดยการใช้การศึกษาสร้าง "ปัญญา" และเป็นอาวุธในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อการมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง ที่สำคัญยังเป็นหนทางเยียวยาและแก้ปัญหาที่สั่งสมมายาวนานให้คลี่คลาย และสร้างสมานฉันท์ให้เกิดสันติสุขในดินแดนใต้อย่างยั่งยืนโดยเร็ว
-------------------------------------------------------------------------------------
3.จงเขียนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของโรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดระยอง มา 1 แห่ง และให้เหตุผลด้วยว่าทำไมจึงมีลักษณะเช่นนั้น?
ตอบ =
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2550 โรงเรียนบ้านค่ายวิทยาจะจัดการศึกษาเน้นนักเรียนเป็นสำคัญให้ได้ มาตรฐาน นักเรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม จริยธรรม เทคโนโลยีเลิศล้ำ นำชุมชนพัฒนา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจ
1.จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง เสมอภาคและทั่วถึง
2.บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาการบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ
3.นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิทยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
4.ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้บุคลากรในโรงเรียน
5.จัดหาสื่อนวัตกรรมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย
6.โรงเรียนและชุมชนร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุขในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
เป้าหมาย
ประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โดยมีผลการประเมินตนเอง ผลการประเมินภายในจากหน่วยงานต้นสังกัดและผลการประเมินภายนอก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)อยู่ในระดับดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และไม่มีมาตรฐานการศึกษาใดได้รับผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจาก วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ของโรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดระยอง นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะผลักดันให้โรงเรียนมุ่งไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพด้านต่าง ๆที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ดังนี้
กลยุทธ์หลัก
1.พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการ
3.พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5.พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
-------------------------------------------------------------------------------------
4.ท่านคิดว่าในอนาคต 100 ปีข้างหน้า ลักษณะหลักสูตรแกนกลางของประเทศไทยจะมีลักษณะเป็นอย่างไร จงอธิบายให้ละเอียด?
ตอบ = หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ 1. การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้ ระดับประถม (ป.1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี ม.ต้น(ม.1-3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละ 5-6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระดับ ม.ปลาย (ม. 4-6) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปี เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง คิดน้ำหนักรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ซึ่งจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กเรียนหนัก
นอกจากนี้ได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับ ดังนี้ ประถมศึกษาผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด ระดับ ม.ต้น เรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน ระดับม.ปลาย รายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81หน่วยกิต โดยเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนได้.
-------------------------------------------------------------------------------------
5.โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 6 ชั้น มีครู 3 คน ท่านจะมีแนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างไร ?
ตอบ =
รูปแบบในการบริหารจัดการหลักสูตรสำหรับโรงเรียนที่จำนวนครูไม่เพียงพอต่อชั้นเรียนนั้น ข้าพเจ้าได้เสนอแนวคิดดังนี้
รูปแบบที่ ๑ การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้องเรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งกรณีเช่นนี้ซึ่งเป็นปัญหาของระบบการศึกษาไทยมาตั้งแต่เนินนานแล้วและขาดการแก้ไขปัญหาเช่นนี้อย่างแท้จริง ดังเช่นตัวอย่างโรงเรียนที่มีจำนวนครูไม่เพียงพอและได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ 1 นี้หลายโรงเรียนด้วยกันโดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต ๒, โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต ๑
รูปแบบที่ ๒ การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ต้องการ สำหรับการบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณา แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒, โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก เขต ๑, โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง อ.เมือง สพท.ระยอง เขต ๑
รูปแบบที่ ๓ ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุกโรงเรียน ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการบริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.กาญจนบุรี เขต ๑, โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต ๑,โรงเรียนบ้านลานคา อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต ๒
รูปแบบที่ ๔ การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดยโรงเรียนหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.พิษณุโลก เขต ๒,โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต ๓, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต ๑ และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต ๗
รูปแบบที่ ๕ รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.เชียงใหม่ เขต ๒, โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต ๓, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต ๑
รูปแบบที่ ๖ ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ ที่ ๑-๕ ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท. นครปฐม เขต ๑, โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต ๑,โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านงอมมด อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต ๒
รูปแบบที่ ๗ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนวัดสุทธาวาส อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต ๑ และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์ เขต ๑
-------------------------------------------------------------------------------------
6.ถ้าท่านเป็นครูอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ท่านจะทำอย่างไรที่จะทำให้เยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เกิดความรู้สึกหวงแหนแผ่นดิน ?
ตอบ = ข้าพเจ้ามีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ดังนี้ คือ ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของเยาวชน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ประชาชนเกิดความหวาดระแวงต่อ จนท. หวาดระแวงระหว่างประชาชนกันเองประชาชนมีอาการเครียดจากสถานการณ์ เนื่องจากต่างต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หากไม่มีธุระจำเป็นที่สำคัญจะไม่กล้าออกจากบ้านพัก ในขณะเดียวกันเยาวชนในพื้นที่เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทำให้ขาดโอกาสที่จะแสดงความสามารถศักยภาพของตนเอง ในการมีส่วนร่วมการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง รัฐบาลควรที่จะหันมาสนใจกำลังของชาติโดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นกำลังของชาติต่อไปในอนาคต รัฐบาลควรจะมีมาตรการจัดตั้งโครงการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรเยาวชน ระดับ อบต. ด้านกีฬา ดนตรีและศิลปะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อให้เยาวชนมีความรัก ความผูกพันและเห็นความสำคัญของบ้านเกิด ตัวอย่าง เช่น
ดร.รุ่ง แก้วแดง ประ ธานมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในอดีตสมัยยังเป็นเด็ก และเยาวชนอยู่ที่ยะลา ชีวิตมีความสุขมาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนที่มีความสงบ มีสันติสุข ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย มีกิจกรรมจัดขึ้นเป็นประจำในชุมชน ทั้งที่เป็นไทยพุทธ มุสลิมและจีน บางครั้งไปดูการแสดงได้ดึกดื่นเที่ยงคืนเดินทางกลับบ้านไม่มีปัญหาอะไร น่าสงสารเยาวชนในรุ่นนี้ที่ไม่มีโอกาสเช่นเดียวกับเยาวชนในรุ่นตน ชีวิตของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันนี้ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ต่างเครียดกันมาก ต้องระวังตัวทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเฉพาะกลางคืนจะออกไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปีมาแล้ว รายการบันเทิง ที่มีอยู่คือทางโทรทัศน์ภายในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการน้ำเน่า ในฐานะที่ตนเองเป็นคนยะลา และรักบ้านเกิด จึงได้ตัดสินใจกลับมาอยู่ยะลาหลังเกษียณอายุราชการ ได้ร่วมกับพรรคพวกหลายคนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ ขึ้น เพื่อช่วยกันทำกิจกรรมในการสร้างสันติสุข เพื่อให้เยาวชนในรุ่นนี้ได้มีความสุขเช่นเดียวกับที่คนรุ่นตนเองได้รับ จึงได้ทำโครงการของบประมาณจัดทำจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำโครงการพัฒนา ขีดความ สามารถ ขององค์กรเยาวชนระดับ อบต.ด้านกีฬา ดนตรีและศิลปะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากทางมูลนิธิฯ มีประ สบการณ์ในการจัดค่ายเยาวชนให้เป็นเพื่อนกันแต่เมื่อกลับไปแล้วไม่ มีองค์กรรองรับจึงไม่สามารถที่จะจัดกิจกรรมอะไรได้
ดร.รุ่ง กล่าวอีกว่า โครงการนี้เพื่อให้เยาวชนมีความตระหนักในความสำคัญของตนเองต่ออนาคตของชุมชน และสามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาซึ่งเยาวชนจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรเยาวชนให้มีความเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถที่จะพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้ท้องถิ่นเข้มแข็งต่อไป และที่สำคัญเยาวชนเหล่านี้ มีความรัก ความผูกพันและเห็นความสำคัญของบ้านเกิด จากการทำกิจกรรมร่วมกัน การจัดอบรมเข้าค่ายในโครงการดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในปี 2551 กำหนดเป้าหมาย 47 อบต. แบ่งออกเป็น 12 รุ่น ๆ ละ 60 คน อบต.ละ 15 คน แยกเป็นเยาวชน 12 คน ครูพี่เลี้ยงจาก กศน. 1 คน จนท.การเงิน อบต. 1 คน และนายก อบต. หรือผู้แทน 1 คน ใช้ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 4 วัน 3 คืน ใช้วิทยากรจากมหาวิทยา ลัยราชภัฏยะลา การศึกษานอกโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิทยากรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา และปัตตานี อาทิ คุณภากร นิจจรัญกุล เจ้าของสวนส้มโชกุน จ.ยะลา นายยะฟัด สนิศุริยางค์ เกษตรกรตัวอย่างใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส นายมาโนช บุญญนุวัตร อดีตข้าราชการ เป็นต้น เยาวชนที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้ จะกลับไปหาเครือข่ายสมาชิกในแต่ละ อบต. เพื่อรวมตัวทำกิจกรรม ด้านการกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรม แต่ละพื้นที่ และนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกับ ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหาร อบต. ให้เกิดความเจริญ ความสมานฉันท์ ความสันติสุข อย่างยั่งยืนกันต่อไป
การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ธุระหน้าที่เฉพาะกำลัง ทหาร ตำรวจ หรือฝ่ายปกครองเพียงฝ่ายเดียวภาคเอกชน หรือประชาชนอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับเข้าสู่ภาวะที่สงบสันติสุข ประชาชนมีความรักสมัครสมานสามัคคีกันเหมือนในอดีต ท่านล่ะได้เข้าช่วยเหลือปัดเป่าสถานการณ์ให้ดีขึ้นแล้วหรือยัง.
-------------------------------------------------------------------------------------
7.ท่านคิดว่าในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีลักษณะอย่างไร ?
ตอบ =
อนาคตของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ ไม่ใช่มีสองสามพันหลักสูตรตามจำนวนโรงเรียนอย่างทุกวันนี้ เพราะครูในโรงเรียนไม่มีความสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรได้เองให้ดีได้ อย่างมากก็แค่การนำของที่อื่นมาปรับโน่นเพิ่มนี่ให้ต่างไปสักหน่อยแล้วก็ประกาศออกมาเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยขาดการมองภาพรวมของทั้งระบบไป การเรียนการสอนในโรงเรียนนับแต่ชั้นประถมไปถึงมัธยมจึงย่ำเท้าอยู่กับที่ เรียนเรื่องเดียวไม่จบไม่สิ้นซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ การทำหลักสูตรสถานศึกษาในหลายๆ โรงเรียนไม่สามารถใช้งานได้จริง เพราะครูหลายๆ คนที่ยังคงมีกรอบความคิดที่ฉันจะสอนอย่างที่เคยสอนมา เคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระวิชา เมื่อมีการวัดประเมินมาตรฐานการศึกษาขึ้นผลที่ได้จึง ผิดคาด เพราะต่ำกว่ามาตรฐาน (ก็เพราะเราสอนไม่ดูมาตรฐาน เขาตั้งเป้าว่า เด็กเมื่อจบช่วงชั้นต้องมีลักษณะหนึ่ง สอง สาม ในแบบทดสอบมาตรฐานก็ถามอย่างนี้ แต่เด็กเราที่สอนดันไปรู้เรื่องที่ ห้า หก เจ็ด เลยตอบ หนึ่ง สอง สาม ไม่ได้ เด็กไม่ผิด แต่ครูนั่นแหละผิด)
ถ้าเรายอมถอยไปหนึ่งก้าวในวันนี้ วันพรุ่งนี้เราจะก้าวไปได้ไกลมากกว่าสามก้าว จริงๆ แล้ว ถ้าเรายอมเสียเวลาสักหน่อยค่อยเปลี่ยนแปลงไปทีละชั้น เราจะใช้เวลาแค่ 6 ปี ในสองระดับพร้อมๆ กัน คือเปลี่ยน ป. 1 และ ม. 1 ก่อนด้วยการเริ่มฝึกอบรมครูในสองระดับในปีนี้ และฝึกอบรมเตรียมการในระดับชั้นต่อไปในปีหน้าไปเรื่อยๆ ทำพร้อมกันไปเลยทั่วประเทศดีกว่า ไม่ต้องนำร่อง เพราะผมเชื่อว่าครูเรามีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้พร้อมเพรียงกัน กพฐ. ไฟเขียวร่างหลักสูตรขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เตรียมนำร่องสอนปีการศึกษา 2552 เมื่อ วันที่ 29 พ.ค.2551 นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ที่มีนายชัย อนันต์ สมุทรวานิช เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้
• ระดับชั้นประถมศึกษา (ป. 1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี
• ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- 3) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนประมาณวันละ 5 – 6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต
•ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6 )ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปีมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้การกำหนดเวลาเรียนนั้นจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กจะเรียน หนัก
โครงสร้างเวลาเรียนจะกำหนดชั่วโมงเรียนต่อปีใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมของแต่ละระดับชั้น เช่น ภาษาไทยและคณิตศาสตร์
•ชั้น ป.1 - 3 ให้เรียนชั้นละ 200 ชั่วโมง
•ชั้น ป.4 – 6 ให้เรียนชั้นละ 160 ชั่วโมง
•ชั้น ม.1 – 3 ให้เรียนชั้นละ 120 ชั่วโมง
•ชั้น ม.4 - 6 เรียนรวม 240 ชั่วโมง
•กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เรียน 120 ชั่วโมงในระดับชั้นป.1 – ม.3 และม.ปลายเรียนรวม 360 ชั่วโมง
โดยการกำหนดโครงสร้างการเรียนนี้จะมุ่งเน้นผู้เรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 – 3 ให้อ่านออก เขียนได้และคิดเลขเป็น รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับคือ
• ระดับประถมศึกษา มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การ ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
• ระดับชั้นม.ต้น มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนเรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน เป็นต้น
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนเรียนรายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิตและรายวิชาที่เพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต นอกจากนี้ยังสูตรดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนใน กรณีต่างๆ เช่น การย้ายสถานศึกษา การย้ายหลักสูตร การละทิ้งการเรียน การเทียบโอนความรู้ ทักษะประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
อนาคตของหลักสูตรระดับอุดมศึกษาไทย
ในปัจจุบันนี้คงไม่มีใครที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสังคมประชากร เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองการปกครอง เป็นผลทำให้แนวโน้มอนาคตหลักสูตรการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาไทย ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งใช้เป็นฐานในการกำหนดนโยบายและวางแผนของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ อันได้แก่ ด้านประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสภาพการเมืองการปกครอง ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรในอนาคตจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการร่วมกันพัฒนาหลักสูตร
จากผลวิจัยได้พบแนวโน้มอนาคตของหลักสูตรอุดมศึกษาไทย อันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.เป็นหลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป เนื่องจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้คนต้องการความรู้ความสามารถในหลายสาขา เช่น บัญชีควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ควบคู่กับสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น
2.หลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น เนื่องจากการค้าและการลงทุนมีการเชื่อมโยงกัน ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ แต่หลักสูตรนี้ ยังคงอยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะดี
3.หลักสูตรสำหรับคนทำงาน เพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน จึงเกิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรภาคค่ำ หลักสูตรทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาหลักสูตรมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคนในวัยแรงงาน เช่น หลักสูตร Global literacy หลักสูตรการคิด หลักสูตรเพิ่มความสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก
ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจึงต้องปรับความคิด ปรับตนเองให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งมีผลต่อจัดการศึกษาทั้งด้านบวกและลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู ควรให้นักเรียนได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ แนวทางในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการวางแผนอาชีพในอนาคตของผู้เรียนเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
-------------------------------------------------------------------------------------
8.ท่านคิดว่าการจัดการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด ควรจะมีการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร ?
ตอบ = 1.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered Instruction) เป็น การจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด การนำความรู้ไปใช้ และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้ตามสภาพจริง จากการมีปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมกับผู้อื่นและผู้เรียนด้วยกัน เพื่อพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ตามหลักการสอนทั่วไป ผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งประกอบด้วย การจัดกระบวนการเรียนการสอน 9 ประการ (Gagne and Brigg, 1974) ดังนี้
1.การเรียกความสนใจ
2.การบอกจุดประสงค์แก่ผู้เรียน
3.การสร้างสถานการณ์เพื่อเร้าให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม
4.การนำเสนอบทเรียน
5.การชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
6.การทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม
7.การเฉลยผลการกระทำของผู้เรียนทันที
8.การวัดผลการเรียนรู้
9.การทำให้ผู้เรียนคงการเรียนรู้ละการถ่ายโยงการเรียนรู้ได้
2. หลักการสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้สำเร็จได้นั้น ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนทัศนะของตนเองเกี่ยวกับผู้เรียนจากที่เคยมองว่าผู้เรียนเป็น “ ผู้รับ ” มาเป็น “ ผู้เรียนรู้ ” เปลี่ยนทัศนะจาก “ ผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ ” มาเป็น “ ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ” และตระหนักว่าบทบาทและความรับผิดชอบในการเรียนรู้เป็นของผู้เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน หลักการสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้ ( สุลัดดา ลอยฟ้า , 2545)
• การมีส่วนร่วม (Participation) โดยจัดสภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ในกิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ โดยมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนมากกว่าผู้สอน
• ความต้องการและความสนใจ (Need and Interests) โดยให้โอกาสผู้เรียนกำหนดเป้าหมาย การเรียนและร่วมวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในบรรยากาศที่ยืดหยุ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกและสร้างผลงานจากการเรียนตามความถนัดและความสนใจของตนเองและ / หรือของกลุ่ม
• การสร้างองค์ความรู้ (Construct) และแบบการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน (Learning styles) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลายและให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหรืแประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือสถานการณ์จริงให้มากที่สุด
• การร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning) และการทำงานกับผู้อื่น (Cooperation) โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันจากเพื่อนในกลุ่ม และส่งเสริมให้มีโอกาสฝึกการทำงานเป็นทีม ความมีวินัยและความรับผิดชอบ
• การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) โดยกระตุ้นและส่งเสริมการคิด การ วางแผน การค้นคว้าหาความรู้และการแสดงออกของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูลที่หลากหลายด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูล และเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกควบคุม และฝึกปรับปรุงตนเอง
• การประเมินตนเอง (Self-evaluation) โดยการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและตามสภาพจริง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนประเมินและสะท้อนผลการเรียนของตนเองและเพื่อน
การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน มีขั้นตอน คือ
• การบูรณาการภายในวิชา เป็นการนำเนื้อหาวิชาเดียวไปสัมพันธ์กับชีวิตจริงเพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงในบริบทที่มีความหมาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงในบริบทที่มีความหมาย ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความหมาย เช่น บูรณาการกับชีวิตจริง บูรณาการคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการโดยยึดปัญหาเป็นฐาน หรือบูรณาการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน เป็นต้น
• การบูรณาการระหว่างวิชา เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวข้อเดี่ยวกัน เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆตั้งแต่ 1 วิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและใกล้เคียงกับชีวิตจริง เป็นเป็น 4 รูปแบบ คือ
• การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion) เป็นการสอนโดยผู้สอนเพียงคนเดียว ทำบทบาททั้งวางแผนและดำเนินการจัดการเรียนการสอนเอง แต่สอนโดยใช้สาระของวิชาอื่นสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาสาระวิชาของตน
• การบูรณาการแบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่สอนต่างวิชากัน มาวางแผนการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อมุ่งที่จะสอนในหัวข้อหรือความคิดรวบยอดเดียวกัน แต่แยกไปจัดการเรียนการสอนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนในวิชาของตนเอง
• การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multi disciplinary) เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่สอนต่างวิชากัน ร่วมกันวางแผนการเรียนการสอนเพื่อมุ่งที่จะสอนในหัวข้อหรือความคิดรวบยอดเดียวกัน รวมทั้งกำหนดการมอบหมายงานหรือโครงการที่จะให้ผู้เรียนทำในแต่ละวิชา แล้วนำไปจัดการเรียนการสอนในวิชาของตนเอง ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน
• การบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ (Tran disciplinary) เป็นการสอนโดยผู้สอนในวิชาต่างๆ ร่วมกันกำหนดหัวข้อ ความคิดรวบยอด การมอบหมายงานหรือโครงการ และจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยสอนเป็นทีมเดียวกัน และมักจะใช้วิธีสอนแบบปัญหาเป็นศูนย์กลาง
1.ถ้าท่านเป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งและต้องทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทุกรายวิชา ท่านคิดว่าจะทำการจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่เหมาะสมที่สุด ?
ตอบ = ข้าพเจ้าใช้แนวคิดทฤษฎีตามรูปแบบทฤษฎีบูรณาการ เป็นทฤษฎีที่พยายามบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆเข้ามาอย่างรอบด้าน แต่ไม่ใช่การนำองค์ความรู้ต่างๆมากองรวมกัน หรือทึกทักเหมารวมเอาไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ นักปรัชญาคนสำคัญที่สนใจพัฒนาทฤษฎีบูรณาการได้แก่ เคน วิลเบอร์, ออโรบินโด (Aurobindo), จีน เกบเซอร์ (Jean Gebser) ดอน เบ็ค (Don Beck) และอีกหลายคน ที่ตอนนี้อยู่ที่สถาบันบูรณาการ (Integral Institute)
แนวคิด
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด แระสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความรู้
ความเข้าใจลักษณะองค์รวม
รูปแบบการบูรณาการ
1. การบูรณาการภายในวิชา เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน
2. บูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม มีการวางแผน ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1.กำหนดเรื่องที่จะสอน โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำมากำหนดเป็นเรื่องหรือปัญหาหรือความคิดรวบยอดในการสอน
2.กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน สำหรับหัวเรื่องนั้น ๆ เพื่อการวัดและประเมินผล
3.กำหนดเนื้อหาย่อย เป็นการกำหนดเนื้อหาหรือหัวเรื่องย่อย ๆ สำหรับการเรียนการสอนให้สนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
4.วางแผนการสอน เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเขียนแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับแผนการสอนทั่วไป คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การ
วัดและประเมินผล
5.ปฏิบัติการสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ความสอดคล้องสัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ ฯลฯ โดยมีการบันทึกจุดเด่น จุดด้อย ไว้สำหรับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
6.การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน เป็นการนำผลที่ได้บันทึก รวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอน มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------------------------------------------
2.ถ้าท่านเป็นครูในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ท่านคิดว่าลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรักชาติ ความเสียสละ มีคุณธรรม และมีความเป็นชาติไทยควรมีลักษณะเป็นอย่างไร?
ตอบ = แผนพัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามแนวคิดของข้าพเจ้า "การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ" เป็นความหวังอย่างยิ่งของผู้นำรัฐบาล เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนใน 3 จังหวัดได้อยู่กันอย่างสงบสุขและมั่นคงในการดำรงชีวิต และได้การจัดการศึกษาในจังหวัดภาคใต้ ต้องยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต ความหลากหลายทางและวัฒนธรรม ตลอดจนความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะบนพื้นฐานของหลักศาสนา ที่เชื่อมโยงหลักการทางศาสนาเข้ากับวิชาสามัญและวิชาชีพ โดยยึดผู้เรียนและประชาชนเป็นศูนย์กลาง และในการบริหารจัดการศึกษาจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ "เพื่อพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยปรับหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในระดับการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาไทย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และภาษาสำคัญอื่นๆ เช่น มลายูกลาง จีน และอังกฤษ เป็นต้น และเร่งการใช้หลักสูตรบูรณาการและเทียบโอนการเรียนศาสนาและวิชาสามัญทุกรูปแบบ ดำเนินการเทียบวุฒิทางการศึกษาแก่ผู้ที่ยังตกค้างและต้องการเทียบโอน เพื่อสามารถนำไปศึกษาต่อหรือเป็นหลักฐานในการทำงานต่อไปได้
การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ เร่งพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในอดีตให้เป็นที่ยอมรับ โดยในปีงบประมาณ 2549 นี้ มีโรงเรียนที่อยู่ในแผน 11 แห่ง ขณะเดียวกัน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ใน 3 จังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 3
การพัฒนาสถานศึกษาเอกชน โดยเฉพาะการพัฒนาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ เปิดโอกาสให้สอนหลักสูตรอิสลามศึกษา ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาตรา 15(1) พัฒนากรรมการมูลนิธิ กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู เพิ่มคุณภาพนักเรียน และสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ถูกต้อง ส่งเสริมให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน สอนวิชาสามัญและวิชาชีพในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาตรา 15(2) โดยเพิ่มระบบการนิเทศโรงเรียนเอกชนอย่างใกล้ชิด
การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน ด้วยการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้กับผู้ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และร่วมกับหน่วยงานภาคีตลอดจนเครือข่ายเพื่อยกระดับการศึกษาให้กับกำลังแรงงาน สำหรับในการจัดการสอนวิชาสามัญและวิชาชีพในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 15(2) และสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยความร่วมมือกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นอกจากนี้ จัดเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้กับประชาชนเพื่อจบการศึกษาและศึกษาต่อ รวมไปถึงจัดการสอนภาษามลายูท้องถิ่นให้กับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
การพัฒนาอุดมศึกษา ด้วยการยกระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีให้เป็นเอกเทศ พัฒนาวิทยาลัยอิสลามเป็นสถาบันนานาชาติ พัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเร่งเปิดสอนคณะอิสลามศึกษา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัล-ฮัสอัร พร้อมทั้งขยายเป้าหมายการรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้มีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ และการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา
การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยการเพิ่มโควต้าอีก 1% ให้กับข้าราชการในพื้นที่ และเพิ่มมาตรการดูความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มากขึ้น
การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาให้เป็นเอกภาพ เพิ่มความเข้มแข็งให้กับศูนย์บริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดูแลโรงเรียนเอกชนทุกประเภท
ภายหลังการพิจารณาแผนการศึกษาดังกล่าวแล้ว พลตำรวจเอก ชิดชัยเปิดเผยว่า "เป็นการบ้านที่รับมาจากท่านนายกฯ นอกจากทำการศึกษาให้เป็นเลิศแล้ว ก็ให้มีความเป็นไทย เราต้องทำโรงเรียนของรัฐให้เป็นที่หล่อหลอมของคนทุกคนทุกศาสนาใน 3 จังหวัด ทั้งเด็กเล็ก ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นสิ่งที่ท่านนายกฯก็เร่งรัดอยากให้กระทรวงศึกษาฯจัดทำเป็นอย่างยิ่ง และกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการศึกษาเฉพาะเรื่องนี้ขึ้นมา ในที่ประชุมให้ข้อเสนอว่า การศึกษาต้องบูรณาการกันระหว่างการศึกษากับฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะดูแลยุทธศาสตร์ในภาพรวม เป็นเรื่องการจัดการในพื้นที่ ผมมาให้ความเห็นเพิ่มเติมอยากให้ดูแลเรื่องคนในพื้นที่ที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศให้มองในภาพรวม พอเขากลับมาจะได้เป็นพลังในการพัฒนาพื้นที่ ให้ ศธ.ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ"
แม้ว่าการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่จะให้เห็นหน้าเห็นหลังต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี แต่งานนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. และ ดร.รุ่งคงต้องเข้าเกียร์เดินหน้าเต็มที่ ในการ "ติดอาวุธทางปัญญา" ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อวางรากฐานโดยการใช้การศึกษาสร้าง "ปัญญา" และเป็นอาวุธในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อการมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง ที่สำคัญยังเป็นหนทางเยียวยาและแก้ปัญหาที่สั่งสมมายาวนานให้คลี่คลาย และสร้างสมานฉันท์ให้เกิดสันติสุขในดินแดนใต้อย่างยั่งยืนโดยเร็ว
-------------------------------------------------------------------------------------
3.จงเขียนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของโรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดระยอง มา 1 แห่ง และให้เหตุผลด้วยว่าทำไมจึงมีลักษณะเช่นนั้น?
ตอบ =
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2550 โรงเรียนบ้านค่ายวิทยาจะจัดการศึกษาเน้นนักเรียนเป็นสำคัญให้ได้ มาตรฐาน นักเรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม จริยธรรม เทคโนโลยีเลิศล้ำ นำชุมชนพัฒนา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจ
1.จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง เสมอภาคและทั่วถึง
2.บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาการบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ
3.นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิทยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
4.ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้บุคลากรในโรงเรียน
5.จัดหาสื่อนวัตกรรมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย
6.โรงเรียนและชุมชนร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุขในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
เป้าหมาย
ประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โดยมีผลการประเมินตนเอง ผลการประเมินภายในจากหน่วยงานต้นสังกัดและผลการประเมินภายนอก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)อยู่ในระดับดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และไม่มีมาตรฐานการศึกษาใดได้รับผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจาก วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ของโรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดระยอง นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะผลักดันให้โรงเรียนมุ่งไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพด้านต่าง ๆที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ดังนี้
กลยุทธ์หลัก
1.พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการ
3.พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5.พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
-------------------------------------------------------------------------------------
4.ท่านคิดว่าในอนาคต 100 ปีข้างหน้า ลักษณะหลักสูตรแกนกลางของประเทศไทยจะมีลักษณะเป็นอย่างไร จงอธิบายให้ละเอียด?
ตอบ = หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ 1. การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้ ระดับประถม (ป.1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี ม.ต้น(ม.1-3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละ 5-6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระดับ ม.ปลาย (ม. 4-6) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปี เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง คิดน้ำหนักรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ซึ่งจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กเรียนหนัก
นอกจากนี้ได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับ ดังนี้ ประถมศึกษาผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด ระดับ ม.ต้น เรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน ระดับม.ปลาย รายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81หน่วยกิต โดยเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนได้.
-------------------------------------------------------------------------------------
5.โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 6 ชั้น มีครู 3 คน ท่านจะมีแนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างไร ?
ตอบ =
รูปแบบในการบริหารจัดการหลักสูตรสำหรับโรงเรียนที่จำนวนครูไม่เพียงพอต่อชั้นเรียนนั้น ข้าพเจ้าได้เสนอแนวคิดดังนี้
รูปแบบที่ ๑ การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้องเรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งกรณีเช่นนี้ซึ่งเป็นปัญหาของระบบการศึกษาไทยมาตั้งแต่เนินนานแล้วและขาดการแก้ไขปัญหาเช่นนี้อย่างแท้จริง ดังเช่นตัวอย่างโรงเรียนที่มีจำนวนครูไม่เพียงพอและได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ 1 นี้หลายโรงเรียนด้วยกันโดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต ๒, โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต ๑
รูปแบบที่ ๒ การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ต้องการ สำหรับการบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณา แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒, โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก เขต ๑, โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง อ.เมือง สพท.ระยอง เขต ๑
รูปแบบที่ ๓ ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุกโรงเรียน ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการบริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.กาญจนบุรี เขต ๑, โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต ๑,โรงเรียนบ้านลานคา อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต ๒
รูปแบบที่ ๔ การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดยโรงเรียนหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.พิษณุโลก เขต ๒,โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต ๓, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต ๑ และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต ๗
รูปแบบที่ ๕ รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.เชียงใหม่ เขต ๒, โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต ๓, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต ๑
รูปแบบที่ ๖ ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ ที่ ๑-๕ ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท. นครปฐม เขต ๑, โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต ๑,โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านงอมมด อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต ๒
รูปแบบที่ ๗ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนวัดสุทธาวาส อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต ๑ และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์ เขต ๑
-------------------------------------------------------------------------------------
6.ถ้าท่านเป็นครูอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ท่านจะทำอย่างไรที่จะทำให้เยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เกิดความรู้สึกหวงแหนแผ่นดิน ?
ตอบ = ข้าพเจ้ามีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ดังนี้ คือ ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของเยาวชน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ประชาชนเกิดความหวาดระแวงต่อ จนท. หวาดระแวงระหว่างประชาชนกันเองประชาชนมีอาการเครียดจากสถานการณ์ เนื่องจากต่างต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หากไม่มีธุระจำเป็นที่สำคัญจะไม่กล้าออกจากบ้านพัก ในขณะเดียวกันเยาวชนในพื้นที่เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทำให้ขาดโอกาสที่จะแสดงความสามารถศักยภาพของตนเอง ในการมีส่วนร่วมการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง รัฐบาลควรที่จะหันมาสนใจกำลังของชาติโดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นกำลังของชาติต่อไปในอนาคต รัฐบาลควรจะมีมาตรการจัดตั้งโครงการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรเยาวชน ระดับ อบต. ด้านกีฬา ดนตรีและศิลปะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อให้เยาวชนมีความรัก ความผูกพันและเห็นความสำคัญของบ้านเกิด ตัวอย่าง เช่น
ดร.รุ่ง แก้วแดง ประ ธานมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในอดีตสมัยยังเป็นเด็ก และเยาวชนอยู่ที่ยะลา ชีวิตมีความสุขมาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนที่มีความสงบ มีสันติสุข ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย มีกิจกรรมจัดขึ้นเป็นประจำในชุมชน ทั้งที่เป็นไทยพุทธ มุสลิมและจีน บางครั้งไปดูการแสดงได้ดึกดื่นเที่ยงคืนเดินทางกลับบ้านไม่มีปัญหาอะไร น่าสงสารเยาวชนในรุ่นนี้ที่ไม่มีโอกาสเช่นเดียวกับเยาวชนในรุ่นตน ชีวิตของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันนี้ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ต่างเครียดกันมาก ต้องระวังตัวทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเฉพาะกลางคืนจะออกไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปีมาแล้ว รายการบันเทิง ที่มีอยู่คือทางโทรทัศน์ภายในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการน้ำเน่า ในฐานะที่ตนเองเป็นคนยะลา และรักบ้านเกิด จึงได้ตัดสินใจกลับมาอยู่ยะลาหลังเกษียณอายุราชการ ได้ร่วมกับพรรคพวกหลายคนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ ขึ้น เพื่อช่วยกันทำกิจกรรมในการสร้างสันติสุข เพื่อให้เยาวชนในรุ่นนี้ได้มีความสุขเช่นเดียวกับที่คนรุ่นตนเองได้รับ จึงได้ทำโครงการของบประมาณจัดทำจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำโครงการพัฒนา ขีดความ สามารถ ขององค์กรเยาวชนระดับ อบต.ด้านกีฬา ดนตรีและศิลปะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากทางมูลนิธิฯ มีประ สบการณ์ในการจัดค่ายเยาวชนให้เป็นเพื่อนกันแต่เมื่อกลับไปแล้วไม่ มีองค์กรรองรับจึงไม่สามารถที่จะจัดกิจกรรมอะไรได้
ดร.รุ่ง กล่าวอีกว่า โครงการนี้เพื่อให้เยาวชนมีความตระหนักในความสำคัญของตนเองต่ออนาคตของชุมชน และสามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาซึ่งเยาวชนจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรเยาวชนให้มีความเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถที่จะพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้ท้องถิ่นเข้มแข็งต่อไป และที่สำคัญเยาวชนเหล่านี้ มีความรัก ความผูกพันและเห็นความสำคัญของบ้านเกิด จากการทำกิจกรรมร่วมกัน การจัดอบรมเข้าค่ายในโครงการดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในปี 2551 กำหนดเป้าหมาย 47 อบต. แบ่งออกเป็น 12 รุ่น ๆ ละ 60 คน อบต.ละ 15 คน แยกเป็นเยาวชน 12 คน ครูพี่เลี้ยงจาก กศน. 1 คน จนท.การเงิน อบต. 1 คน และนายก อบต. หรือผู้แทน 1 คน ใช้ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 4 วัน 3 คืน ใช้วิทยากรจากมหาวิทยา ลัยราชภัฏยะลา การศึกษานอกโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิทยากรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา และปัตตานี อาทิ คุณภากร นิจจรัญกุล เจ้าของสวนส้มโชกุน จ.ยะลา นายยะฟัด สนิศุริยางค์ เกษตรกรตัวอย่างใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส นายมาโนช บุญญนุวัตร อดีตข้าราชการ เป็นต้น เยาวชนที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้ จะกลับไปหาเครือข่ายสมาชิกในแต่ละ อบต. เพื่อรวมตัวทำกิจกรรม ด้านการกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรม แต่ละพื้นที่ และนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกับ ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหาร อบต. ให้เกิดความเจริญ ความสมานฉันท์ ความสันติสุข อย่างยั่งยืนกันต่อไป
การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ธุระหน้าที่เฉพาะกำลัง ทหาร ตำรวจ หรือฝ่ายปกครองเพียงฝ่ายเดียวภาคเอกชน หรือประชาชนอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับเข้าสู่ภาวะที่สงบสันติสุข ประชาชนมีความรักสมัครสมานสามัคคีกันเหมือนในอดีต ท่านล่ะได้เข้าช่วยเหลือปัดเป่าสถานการณ์ให้ดีขึ้นแล้วหรือยัง.
-------------------------------------------------------------------------------------
7.ท่านคิดว่าในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีลักษณะอย่างไร ?
ตอบ =
อนาคตของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ ไม่ใช่มีสองสามพันหลักสูตรตามจำนวนโรงเรียนอย่างทุกวันนี้ เพราะครูในโรงเรียนไม่มีความสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรได้เองให้ดีได้ อย่างมากก็แค่การนำของที่อื่นมาปรับโน่นเพิ่มนี่ให้ต่างไปสักหน่อยแล้วก็ประกาศออกมาเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยขาดการมองภาพรวมของทั้งระบบไป การเรียนการสอนในโรงเรียนนับแต่ชั้นประถมไปถึงมัธยมจึงย่ำเท้าอยู่กับที่ เรียนเรื่องเดียวไม่จบไม่สิ้นซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ การทำหลักสูตรสถานศึกษาในหลายๆ โรงเรียนไม่สามารถใช้งานได้จริง เพราะครูหลายๆ คนที่ยังคงมีกรอบความคิดที่ฉันจะสอนอย่างที่เคยสอนมา เคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระวิชา เมื่อมีการวัดประเมินมาตรฐานการศึกษาขึ้นผลที่ได้จึง ผิดคาด เพราะต่ำกว่ามาตรฐาน (ก็เพราะเราสอนไม่ดูมาตรฐาน เขาตั้งเป้าว่า เด็กเมื่อจบช่วงชั้นต้องมีลักษณะหนึ่ง สอง สาม ในแบบทดสอบมาตรฐานก็ถามอย่างนี้ แต่เด็กเราที่สอนดันไปรู้เรื่องที่ ห้า หก เจ็ด เลยตอบ หนึ่ง สอง สาม ไม่ได้ เด็กไม่ผิด แต่ครูนั่นแหละผิด)
ถ้าเรายอมถอยไปหนึ่งก้าวในวันนี้ วันพรุ่งนี้เราจะก้าวไปได้ไกลมากกว่าสามก้าว จริงๆ แล้ว ถ้าเรายอมเสียเวลาสักหน่อยค่อยเปลี่ยนแปลงไปทีละชั้น เราจะใช้เวลาแค่ 6 ปี ในสองระดับพร้อมๆ กัน คือเปลี่ยน ป. 1 และ ม. 1 ก่อนด้วยการเริ่มฝึกอบรมครูในสองระดับในปีนี้ และฝึกอบรมเตรียมการในระดับชั้นต่อไปในปีหน้าไปเรื่อยๆ ทำพร้อมกันไปเลยทั่วประเทศดีกว่า ไม่ต้องนำร่อง เพราะผมเชื่อว่าครูเรามีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้พร้อมเพรียงกัน กพฐ. ไฟเขียวร่างหลักสูตรขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เตรียมนำร่องสอนปีการศึกษา 2552 เมื่อ วันที่ 29 พ.ค.2551 นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ที่มีนายชัย อนันต์ สมุทรวานิช เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้
• ระดับชั้นประถมศึกษา (ป. 1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี
• ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- 3) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนประมาณวันละ 5 – 6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต
•ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6 )ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปีมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้การกำหนดเวลาเรียนนั้นจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กจะเรียน หนัก
โครงสร้างเวลาเรียนจะกำหนดชั่วโมงเรียนต่อปีใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมของแต่ละระดับชั้น เช่น ภาษาไทยและคณิตศาสตร์
•ชั้น ป.1 - 3 ให้เรียนชั้นละ 200 ชั่วโมง
•ชั้น ป.4 – 6 ให้เรียนชั้นละ 160 ชั่วโมง
•ชั้น ม.1 – 3 ให้เรียนชั้นละ 120 ชั่วโมง
•ชั้น ม.4 - 6 เรียนรวม 240 ชั่วโมง
•กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เรียน 120 ชั่วโมงในระดับชั้นป.1 – ม.3 และม.ปลายเรียนรวม 360 ชั่วโมง
โดยการกำหนดโครงสร้างการเรียนนี้จะมุ่งเน้นผู้เรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 – 3 ให้อ่านออก เขียนได้และคิดเลขเป็น รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับคือ
• ระดับประถมศึกษา มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การ ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
• ระดับชั้นม.ต้น มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนเรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน เป็นต้น
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสาระหลักๆ เช่น ผู้เรียนเรียนรายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิตและรายวิชาที่เพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต นอกจากนี้ยังสูตรดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนใน กรณีต่างๆ เช่น การย้ายสถานศึกษา การย้ายหลักสูตร การละทิ้งการเรียน การเทียบโอนความรู้ ทักษะประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
อนาคตของหลักสูตรระดับอุดมศึกษาไทย
ในปัจจุบันนี้คงไม่มีใครที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสังคมประชากร เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองการปกครอง เป็นผลทำให้แนวโน้มอนาคตหลักสูตรการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาไทย ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งใช้เป็นฐานในการกำหนดนโยบายและวางแผนของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ อันได้แก่ ด้านประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสภาพการเมืองการปกครอง ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรในอนาคตจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการร่วมกันพัฒนาหลักสูตร
จากผลวิจัยได้พบแนวโน้มอนาคตของหลักสูตรอุดมศึกษาไทย อันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.เป็นหลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป เนื่องจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้คนต้องการความรู้ความสามารถในหลายสาขา เช่น บัญชีควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ควบคู่กับสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น
2.หลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น เนื่องจากการค้าและการลงทุนมีการเชื่อมโยงกัน ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ แต่หลักสูตรนี้ ยังคงอยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะดี
3.หลักสูตรสำหรับคนทำงาน เพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน จึงเกิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรภาคค่ำ หลักสูตรทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาหลักสูตรมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคนในวัยแรงงาน เช่น หลักสูตร Global literacy หลักสูตรการคิด หลักสูตรเพิ่มความสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก
ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจึงต้องปรับความคิด ปรับตนเองให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งมีผลต่อจัดการศึกษาทั้งด้านบวกและลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู ควรให้นักเรียนได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ แนวทางในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการวางแผนอาชีพในอนาคตของผู้เรียนเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
-------------------------------------------------------------------------------------
8.ท่านคิดว่าการจัดการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด ควรจะมีการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร ?
ตอบ = 1.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered Instruction) เป็น การจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด การนำความรู้ไปใช้ และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้ตามสภาพจริง จากการมีปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมกับผู้อื่นและผู้เรียนด้วยกัน เพื่อพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ตามหลักการสอนทั่วไป ผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งประกอบด้วย การจัดกระบวนการเรียนการสอน 9 ประการ (Gagne and Brigg, 1974) ดังนี้
1.การเรียกความสนใจ
2.การบอกจุดประสงค์แก่ผู้เรียน
3.การสร้างสถานการณ์เพื่อเร้าให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม
4.การนำเสนอบทเรียน
5.การชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
6.การทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม
7.การเฉลยผลการกระทำของผู้เรียนทันที
8.การวัดผลการเรียนรู้
9.การทำให้ผู้เรียนคงการเรียนรู้ละการถ่ายโยงการเรียนรู้ได้
2. หลักการสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้สำเร็จได้นั้น ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนทัศนะของตนเองเกี่ยวกับผู้เรียนจากที่เคยมองว่าผู้เรียนเป็น “ ผู้รับ ” มาเป็น “ ผู้เรียนรู้ ” เปลี่ยนทัศนะจาก “ ผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ ” มาเป็น “ ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ” และตระหนักว่าบทบาทและความรับผิดชอบในการเรียนรู้เป็นของผู้เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน หลักการสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้ ( สุลัดดา ลอยฟ้า , 2545)
• การมีส่วนร่วม (Participation) โดยจัดสภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ในกิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ โดยมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนมากกว่าผู้สอน
• ความต้องการและความสนใจ (Need and Interests) โดยให้โอกาสผู้เรียนกำหนดเป้าหมาย การเรียนและร่วมวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในบรรยากาศที่ยืดหยุ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกและสร้างผลงานจากการเรียนตามความถนัดและความสนใจของตนเองและ / หรือของกลุ่ม
• การสร้างองค์ความรู้ (Construct) และแบบการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน (Learning styles) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลายและให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหรืแประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือสถานการณ์จริงให้มากที่สุด
• การร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning) และการทำงานกับผู้อื่น (Cooperation) โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันจากเพื่อนในกลุ่ม และส่งเสริมให้มีโอกาสฝึกการทำงานเป็นทีม ความมีวินัยและความรับผิดชอบ
• การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) โดยกระตุ้นและส่งเสริมการคิด การ วางแผน การค้นคว้าหาความรู้และการแสดงออกของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูลที่หลากหลายด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูล และเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกควบคุม และฝึกปรับปรุงตนเอง
• การประเมินตนเอง (Self-evaluation) โดยการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและตามสภาพจริง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนประเมินและสะท้อนผลการเรียนของตนเองและเพื่อน
การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน มีขั้นตอน คือ
• การบูรณาการภายในวิชา เป็นการนำเนื้อหาวิชาเดียวไปสัมพันธ์กับชีวิตจริงเพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงในบริบทที่มีความหมาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงในบริบทที่มีความหมาย ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความหมาย เช่น บูรณาการกับชีวิตจริง บูรณาการคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการโดยยึดปัญหาเป็นฐาน หรือบูรณาการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน เป็นต้น
• การบูรณาการระหว่างวิชา เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวข้อเดี่ยวกัน เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆตั้งแต่ 1 วิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและใกล้เคียงกับชีวิตจริง เป็นเป็น 4 รูปแบบ คือ
• การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion) เป็นการสอนโดยผู้สอนเพียงคนเดียว ทำบทบาททั้งวางแผนและดำเนินการจัดการเรียนการสอนเอง แต่สอนโดยใช้สาระของวิชาอื่นสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาสาระวิชาของตน
• การบูรณาการแบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่สอนต่างวิชากัน มาวางแผนการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อมุ่งที่จะสอนในหัวข้อหรือความคิดรวบยอดเดียวกัน แต่แยกไปจัดการเรียนการสอนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนในวิชาของตนเอง
• การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multi disciplinary) เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่สอนต่างวิชากัน ร่วมกันวางแผนการเรียนการสอนเพื่อมุ่งที่จะสอนในหัวข้อหรือความคิดรวบยอดเดียวกัน รวมทั้งกำหนดการมอบหมายงานหรือโครงการที่จะให้ผู้เรียนทำในแต่ละวิชา แล้วนำไปจัดการเรียนการสอนในวิชาของตนเอง ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน
• การบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ (Tran disciplinary) เป็นการสอนโดยผู้สอนในวิชาต่างๆ ร่วมกันกำหนดหัวข้อ ความคิดรวบยอด การมอบหมายงานหรือโครงการ และจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยสอนเป็นทีมเดียวกัน และมักจะใช้วิธีสอนแบบปัญหาเป็นศูนย์กลาง
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551
Backward Design
Backward Design
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและ การพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพ การเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านนั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เผยแพร่ต่อผู้อื่น
การนำแนวทางการพัฒนาของครูจะช่วยให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน เกิดผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียน ให้มีคุณลักษณะ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ที่มาของ Backward Design
ปัญหาจากการสอบแบบ multiple Choices : teach test and hope for the best! สอนเพื่อให้ผู้เรียนจำ ไม่ใช้เข้าใจ l การวัดประเมินผล มุ่งวัดประเมินว่า ผู้เรียนจำอะไรได้บ้างจากสิ่งที่ครูบอก เล่า ให้ฟัง หรือ อ่านมา ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง การสอนของครูสอนแบบอ้างถึงความรู้ teaching by mention ผู้เรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighe เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ ( Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน ในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
ขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ backward design
1 กำหนดหน่วยเรียนรู้ที่ต้องการ Identify desired result
2 กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ Determine acceptable evidence
3 ออกแบบการเรียนรู้ Plan learning experiences and instruction
บทสรุปของ Backward Design
ข้อค้นพบประการสำคัญของ Backward Design ก็คือ
* เป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
มีคำกล่าวถึง เรื่อง Backward Design ไว้น่าสนใจ ดังนี้
“ การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย Backward Design มิใช่ความมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ที่สะดวกสบายหรือ เป็นกระบวนการง่ายๆ หากแต่มันคือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ ที่ทุกคนจะต้องกลับไปผ่าให้ทะลุเข้าไปในแผนผังหลักสูตรแล้วทำการปรับปรุง กระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลาเมื่อท่านผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปใน ส่วนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ของคุณ ”
เป็นบทสรุปที่ชัดเจนและเห็นความสำคัญ ของ Backward Design ได้อย่างแจ่มแจ้งที่เดียว
แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ Backward Design ที่รวบรวมจากสื่อต่างๆ ในการอบรมหลักสูตร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
*การออกแบบเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ (ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา )
*เข้มแข็งออกแบบการเรียนรู้
*การตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน
*ศึกษาธิการสัญจร : ก้าวที่สำคัญบนเส้นทางปฏิรูปการศึกษา
*แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้
*การสอนทักษะการคิด
*การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Backward Design
*Backward Unit Design (PowerPoint)
*Model การประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ด้วย Backward Design
*Principles of Backward Design
*การออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิด Backward Design ของครูกษิดิ์เดช
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและ การพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพ การเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านนั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เผยแพร่ต่อผู้อื่น
การนำแนวทางการพัฒนาของครูจะช่วยให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน เกิดผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียน ให้มีคุณลักษณะ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ที่มาของ Backward Design
ปัญหาจากการสอบแบบ multiple Choices : teach test and hope for the best! สอนเพื่อให้ผู้เรียนจำ ไม่ใช้เข้าใจ l การวัดประเมินผล มุ่งวัดประเมินว่า ผู้เรียนจำอะไรได้บ้างจากสิ่งที่ครูบอก เล่า ให้ฟัง หรือ อ่านมา ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง การสอนของครูสอนแบบอ้างถึงความรู้ teaching by mention ผู้เรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighe เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ ( Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน ในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
ขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ backward design
1 กำหนดหน่วยเรียนรู้ที่ต้องการ Identify desired result
2 กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ Determine acceptable evidence
3 ออกแบบการเรียนรู้ Plan learning experiences and instruction
บทสรุปของ Backward Design
ข้อค้นพบประการสำคัญของ Backward Design ก็คือ
* เป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
มีคำกล่าวถึง เรื่อง Backward Design ไว้น่าสนใจ ดังนี้
“ การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย Backward Design มิใช่ความมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ที่สะดวกสบายหรือ เป็นกระบวนการง่ายๆ หากแต่มันคือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ ที่ทุกคนจะต้องกลับไปผ่าให้ทะลุเข้าไปในแผนผังหลักสูตรแล้วทำการปรับปรุง กระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลาเมื่อท่านผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปใน ส่วนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ของคุณ ”
เป็นบทสรุปที่ชัดเจนและเห็นความสำคัญ ของ Backward Design ได้อย่างแจ่มแจ้งที่เดียว
แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ Backward Design ที่รวบรวมจากสื่อต่างๆ ในการอบรมหลักสูตร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
*การออกแบบเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ (ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา )
*เข้มแข็งออกแบบการเรียนรู้
*การตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน
*ศึกษาธิการสัญจร : ก้าวที่สำคัญบนเส้นทางปฏิรูปการศึกษา
*แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้
*การสอนทักษะการคิด
*การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Backward Design
*Backward Unit Design (PowerPoint)
*Model การประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ด้วย Backward Design
*Principles of Backward Design
*การออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิด Backward Design ของครูกษิดิ์เดช
รูปแบบการสอนสอนของนักการศึกษา
การสอนตามรูปแบบCIPPA
C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model
๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการ คิด ในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป
*************************************************************************************
ระบบการเรียนการสอนของ กาเย่(Gagne’ Design Model)
กาเย่ (Gagne') ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน ที่จะสร้างความตั้งใจและความสนใจ เป็นลำดับขั้นดังนี้
1.ขั้นการสร้างความตั้งใจ (Gaining Attention)
2.ขั้นการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ (Informing Learners of the Objective)
3.ขั้นส่งเสริมให้ระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนมา (Stimulating Recall of Prerequisite Learning )
4.ขั้นการเสนอสิ่งเร้าเพื่อการเรียนใหม่ (Presenting the Stimulus Materials)
5.ขั้นการให้คำแนะนำช่วยเหลือในการเรียน (Providing Learning Guidance)
6.ขั้นให้นักเรียนได้มีการแสดงออก (Eliciting the Performance)
7.ขั้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback)
8.ขั้นการประเมินผล (Assessing Performance)
9.ขั้นระดับความคงทนในเรื่องที่จะเรียน และการถ่ายโยง (Enhancing Retention and Transfer)
ความเหมาะสมของระบบการเรียนการสอนในการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษาระบบการเรียนการสอน ของกาเย่สามารถนำไปใช้ในระบบการเรียนการสอนได้โดยตรงโดยการสร้างสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียนเมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้วผู้สอนก็จะแจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียนโดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้ จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่ มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้เขาทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติ และมีการสรุปเสริมบทเรียนเพื่อสร้างความแม่นยำและการถ่ายโยงความรู้ไปใช้กับสิ่งอื่นๆ ในโอกาสต่อไป
*************************************************************************************
C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model
๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการ คิด ในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป
*************************************************************************************
ระบบการเรียนการสอนของ กาเย่(Gagne’ Design Model)
กาเย่ (Gagne') ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน ที่จะสร้างความตั้งใจและความสนใจ เป็นลำดับขั้นดังนี้
1.ขั้นการสร้างความตั้งใจ (Gaining Attention)
2.ขั้นการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ (Informing Learners of the Objective)
3.ขั้นส่งเสริมให้ระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนมา (Stimulating Recall of Prerequisite Learning )
4.ขั้นการเสนอสิ่งเร้าเพื่อการเรียนใหม่ (Presenting the Stimulus Materials)
5.ขั้นการให้คำแนะนำช่วยเหลือในการเรียน (Providing Learning Guidance)
6.ขั้นให้นักเรียนได้มีการแสดงออก (Eliciting the Performance)
7.ขั้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback)
8.ขั้นการประเมินผล (Assessing Performance)
9.ขั้นระดับความคงทนในเรื่องที่จะเรียน และการถ่ายโยง (Enhancing Retention and Transfer)
ความเหมาะสมของระบบการเรียนการสอนในการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษาระบบการเรียนการสอน ของกาเย่สามารถนำไปใช้ในระบบการเรียนการสอนได้โดยตรงโดยการสร้างสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียนเมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้วผู้สอนก็จะแจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียนโดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้ จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่ มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้เขาทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติ และมีการสรุปเสริมบทเรียนเพื่อสร้างความแม่นยำและการถ่ายโยงความรู้ไปใช้กับสิ่งอื่นๆ ในโอกาสต่อไป
*************************************************************************************
การนำ Backward Design มาใช้ในการประเมินผลการเรียน
การนำ Backward Design มาใช้ในการประเมินผลการเรียน
.................................................................................
หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
ขั้นตอน 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
ขั้นตอน 2 : อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
ขั้นตอน 3 : ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจและความยอดเยี่ยม
ในหลักฐานนั้นๆ …
ขั้นตอนที่ 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals)หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ, ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ หลักการต่าง ๆ หรือกระบวนการต่างๆ
ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม ประกอบด้วย
เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?
จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
Wiggins and McTighe เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters” เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ “การลงมือทำ” ในเนื้อหาวิชา)
ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน
ความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ(สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ขั้นตอนที่ 2 : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ
ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ
อธิบายชี้แจงเหตุผล (can explain)
แปลความตีความ (can interpret)
ประยุกต์ (can apply)
มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have perspective)
สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)
ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning styles) นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้านให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งหกด้าน (six facets) ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการออกแบบการประเมินผลและการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2 – คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่ต้องการในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design” แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ คณะครูผู้สอน มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ (Performance tasks) ด้วย Wiggins and Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วย การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ และการแสดงความสามารถต่าง ๆ ต้อง :
สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing understand)
ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ
ผลงาน / ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอเน้นถึงความสำคัญ การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3:อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร
ในขั้นตอนที่ 3 – ของกระบวนการ backward design ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop understanding)
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขาที่สืบค้น (inquiries) ประสบการณ์โดยตรง กระบวนการให้เหตุผล (arguments) การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้ ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :
-สร้างทฤษฎี อธิบายชี้แจง แปลความ ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ กัน หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ
ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth)วิเคราะห์แยกแยะ ตั้งคำถาม พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง มองเห็นภาพ(ตัวแทนหรือรูปจำลอง) และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based approach) ที่ต้องการ “ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)” ในการเลือกเนื้อหา
การทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine)
ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward design” ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้วในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
“การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย
backward design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ มัน
คือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ”
Backward design และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ กรอบแนวความคิดนี้มีประโยชน์ต่อการใช้สอย เมื่อแบบจำลอง backward design ถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์
-------------------------
.................................................................................
หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และ McTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
ขั้นตอน 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
ขั้นตอน 2 : อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
ขั้นตอน 3 : ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจและความยอดเยี่ยม
ในหลักฐานนั้นๆ …
ขั้นตอนที่ 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals)หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ, ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ หลักการต่าง ๆ หรือกระบวนการต่างๆ
ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม ประกอบด้วย
เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?
จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
Wiggins and McTighe เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters” เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ “การลงมือทำ” ในเนื้อหาวิชา)
ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน
ความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ(สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ขั้นตอนที่ 2 : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ
ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ
อธิบายชี้แจงเหตุผล (can explain)
แปลความตีความ (can interpret)
ประยุกต์ (can apply)
มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have perspective)
สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)
ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning styles) นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้านให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งหกด้าน (six facets) ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการออกแบบการประเมินผลและการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2 – คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่ต้องการในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design” แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ คณะครูผู้สอน มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ (Performance tasks) ด้วย Wiggins and Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วย การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ และการแสดงความสามารถต่าง ๆ ต้อง :
สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing understand)
ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ
ผลงาน / ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอเน้นถึงความสำคัญ การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3:อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร
ในขั้นตอนที่ 3 – ของกระบวนการ backward design ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop understanding)
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขาที่สืบค้น (inquiries) ประสบการณ์โดยตรง กระบวนการให้เหตุผล (arguments) การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้ ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :
-สร้างทฤษฎี อธิบายชี้แจง แปลความ ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ กัน หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ
ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth)วิเคราะห์แยกแยะ ตั้งคำถาม พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง มองเห็นภาพ(ตัวแทนหรือรูปจำลอง) และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based approach) ที่ต้องการ “ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)” ในการเลือกเนื้อหา
การทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine)
ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward design” ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้วในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
“การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย
backward design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ มัน
คือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ”
Backward design และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ กรอบแนวความคิดนี้มีประโยชน์ต่อการใช้สอย เมื่อแบบจำลอง backward design ถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์
-------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)